logo

ราคาทองคำทรงตัวเหนือระดับ 1900 หลังดัชนีดอลลาร์อ่อนค่า

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดทองคำคือดัชนีดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีดอลลาร์ที่ปรับตัวลดลง -0.08 % สู่ระดับ 101.99 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.08% มาอยู่ที่ระดับ 3.471 %
ราคาทองคำยังได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังประกาศตัวเลข CPI และ PPI บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อจะลอตัวลง แต่เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนให้การสนับสนุนปรับดอกเบี้ย
นอกจากนี้ นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟด สาขานิวยอร์กระบุว่า เมื่อพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูงและสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอุปทานและอุปสงค์ยังไม่สมดุลกันอย่างต่อเนื่อง เฟดจึงยังจำเป็นต้องดำเนินการด้านนโยบายการเงินต่อไป เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า เฟดอาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% ในการประชุมนโยบาย 2 ครั้งถัดไปก่อนจะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปี

มุมมองนักวิเคราะห์

✎นักวิเคราะห์การตลาดของ IG กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำจะแตะ 2,000 เหรียญในปีนี้ ซึ่งเราจำเป็นต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงของเฟดในการลดโทนคุมเข้มนโยบายการเงินลง เพื่อยืนยันการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
✎ผู้อำนวยการการจัดการของ GoldSilver Central กล่าวว่า มีสัญญาณที่แสดงว่าสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อทองคำ เนื่องจากในอดีตเคยสนับสนุนทองคำ

ราคาทองคำวันนี้

➤ ราคาทองคำตลาดโลก
ปรับตัวลดลง -6.48 เหรียญ หรือ -0.34% อยู่ที่ระดับ 1,925.66 ดอลลาร์
➤ สัญญาทองคำตลาด COMEX
ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 4.3 เหรียญ หรือ 0.22% ปิดที่ 1,928.2 ดอลลาร์/ออนซ์
➤ กองทุนทองคำ SPDR
วันก่อนหน้าซื้อเข้า 4.62 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 917.05 ตันภาพรวมเดือนมกราคม ขายสุทธิ 0.59 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 0.59 ตัน

ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำผันผวน

-ตลาดทองคำได้รับแรงหนุนจากดัชนีดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
-เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนให้การสนับสนุนปรับดอกเบี้ย

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ดอลลลาร์อ่อนค่า ส่งผลหนุนราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 ดอลลาร์

กรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางยุโรปจะไม่หยุดเพียงแค่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมครั้งต่อไป ส่งผลกดดันดัชนีดอลลาร์

อ่านเพิ่มเติม