คือ การนำข้อมูลในอดีตจากกราฟมาคำนวณและใช้เพื่อพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต ซึ่งอาจจะมีการใช้ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประมาณกรอบการเคลื่อนไหวของราคา การใช้ Techical Analysis จะช่วยให้การเทรดของเราหาจังหวะเข้าออกออเดอร์ได้แม่นยำมากขึ้น
DOW THEORY (ทฤษฎีของดาว) มีสมมติฐานอยู่ 6 ข้อ คือ
1.ราคาในกราฟสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราทำการวิเคราะห์โดยใช้กราฟเทคนิค เราไม่จำเป็นต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบ
2.ตลาดแบ่งการเคลื่อนไหวเป็น 3 ช่วงหลักๆ
-แนวโน้มใหญ่ หมายถึง ระยะเวลารายวัน(D1), รายสัปดาห์(W1), รายเดือน(MN)
-แนวโน้มรอง หมายถึง ระยะเวลา 4 ชั่วโมง(H4), 1 ชั่วโมง(H1)
-แนวโน้มระยะสั้น หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ 30 นาทีลงไป (M30,M15,M5,M1)
3.แนวโน้มขาขึ้นมี 3 จังหวะด้วยกัน คือ
-ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) เป็นช่วงที่หุ้นมีความเคลื่อนไหวของราคาอยู่ในกรอบอย่างช้าๆ
-ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) ทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนที่อย่างรุนแรง
-ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase) จะทำให้ราคาหุ้นลงมาอย่างรวดเร็ว
4.ทุกตลาดจะต้องมีความสอดคล้อง ดังนั้นการวิเคราะห์โดยใช้ Techical Analysis จึงสามารถใช้ได้กับทุกสินค้า
5.ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ต้องมีปริมาณยืนยัน (ขึ้นไปโดยที่ปริมาณการซื้อขายไม่ได้เพิ่มนั่นหมายความว่าแนวโน้มนั้นกำลังอ่อนแรงหรือกำลังจะจบลงในไม่ช้า
6.ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะไม่ลง
โดยคาถาที่ท่องไว้แล้วจะทำให้อยู่รอดในตลาด คือ “TREND IS YOUR FRIEND”(เทรน เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในการเทรดของคุณ)
กราฟมี 3 ประเภทที่นิยมใช้กัน
1.Line Chart คือ การแสดงเฉพาะราคาปิดในช่วง Time Frame ที่เราสนใจ โดยที่ไม่สนว่าระหว่างแท่งกราฟขึ้นสูงสุด ต่ำสุดเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้เราเห็นแนวโน้มได้ง่าย แต่ก็มีรายละเอียดเชิงข้อมูลที่เอาไปวิเคราะห์ทางสถิติที่น้อยเนื่องจากเก็บไว้เฉพาะราคาปิดเพียงอย่างเดียว
2.Bar Chart คือ การแสดงผลกราฟที่สามารถดูได้ทั้ง ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด โดยถ้าราคาปิดอยู่เหนือราคาเปิดแปลว่า Bar แท่งนั้นเป็นขาขึ้น และถ้าราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดแสดงว่า Bar แท่งนั้นเป็นขาลง ซึ่งการดู Bar Chart เราจะได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าการดู Line Chart เพราะจะเห็นว่าในแต่ละช่วงที่มีการเคลื่อนไหวเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบราคาที่กว้างหรือแคบ
3.Candle Stick Chart ถูกคิดค้นโดยชาวญี่ปุ่น ซึ่งในตอนแรกใช้ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าว โดยนำกราฟมาพล็อตเป็นแท่งเทียนเพื่อดูอารมณ์ของผู้เล่นในตลาดและสามารถดูได้ทั้ง ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด แต่จะมีการนำสีเข้ามาช่วยให้กราฟดูง่ายขึ้น กราฟแท่งเทียนมีจุดเด่นที่อัปเกรดมาจาก Bar Chart คือ ส่วนที่เรียกว่าแท่งเทียนตรงกลางและไส้เทียน สำหรับแท่งเทียนตรงกลางถ้ายิ่งยาวทำให้ยิ่งมั่นใจได้ว่าแนวโน้มของตลาดจะยิ่งไปในทิศทางนั้น และหากไส้เทียนยิ่งยาวแปลว่าตลาดมีความลังเลค่อนข้างสูง
ในการเทรดนอกจากการดูกราฟยังมีการนำสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีสูตรคำนวณต่างๆมาสร้างขึ้นเพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวของราคา เราเรียกสิ่งนั้นว่า Indicator โดย Indicator คำนวณมาจาก Open High Low Close ของราคารวมถึงปริมาณการซื้อขายด้วย จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์การเข้าออกออเดอร์ได้อย่างรวดเร็วว่าในช่วงนี้เรา Buy หรือ Sell
นักลงทุนเอา Indicators มาใช้งานอะไรบ้าง?
– สัญญาณเตือน เช่น มีสัญญาณการกลับตัวสูงไหม (Bullish Divergence/Bearish Divergence)
– สัญญาณยืนยัน หลังจากมีสัญญาณการกลับตัวเกิดขึ้น Indicators บางตัวก็สามารถยืนยันสัญญาณกลับตัวนั้นอีกที เช่น การเกิด Golden Cross ของ EMA 2 เส้น
– การคาดการณ์ราคา บาง Indicators สามารถนำมาใช้บอกความน่าจะเป็นของพฤติกรรมราคาในอนาคต เช่น Fibonacci
หน้าที่และความสามารถของ Indicators
บอกแนวโน้ม (Trends)
- MA (Moving Average)
- MACD (Moving Average Convergence & Divergence)
- ADX (Average Directional Movement Index)
- Ichimoku-Cloud
บอกแรงส่งของราคา (Momentum)
- RSI (Relative Strength Index)
- STO (Stochastic Oscillator)
บอกแนวรับ / แนวต้าน (Support & Resistance)
- Fibonacci-Retracement
- Fibonacci-Fans & Arcs
- Gann Lines
- Gride
บอกความผันผวน (Volatility)
- ATR (Average True Range)
- Linear-Regression
บอกปริมาณการซื้อขาย (Volume)
- Volume
- OBV (On Balance Volume)
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=0wRmbjzHhOY&list=PLxcFCY6f8RaNOWE7xHYzUxiy3PUye6tTE&index=3