logo

Indicator Moving Average คืออะไร? สรุปง่าย ๆ


คือ Indicator ตัวหนึ่งที่หลายคนนิยมใช้ โดยการนำราคามาหาค่าเฉลี่ย Moving Average เป็นการคำนวณโดยใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย โดยเราสามารถกำหนดชุดข้อมูลที่สนใจได้

Moving Average คือ ?

  1. คือ Indicator ตัวหนึ่งที่เทรดเดอร์นิยมใช้ โดยการนำราคาย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด
  2. เป็น Indicator ยอดนิยมอันดับ 1 ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะต้องมีไว้เวลาวิเคราะห์กราฟเทคนิค
  3. Moving Average เป็นการคำนวณโดยใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย โดยเราสามารถกำหนดช่วงเวลาที่สนใจได้ เช่น 20, 30 ,100 หรือ 200 แท่งที่ผ่านมา
  4. Moving Average เป็นพื้นฐานของ Indicator ตัวอื่น ๆ อีกหลายตัว เช่น Bollinger Band, MACD เป็นต้น

Moving Average ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

  1. ใช้ในการดูแนวโน้ม(Trend) ว่าในช่วงนี้เป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือแนวโน้มขาลง หรือไม่มีแนวโน้ม
  2. ใช้เป็นแนวรับ (Support) หรือแนวต้าน (Resistance) เคลื่อนที่
  3. ใช้เป็นตัวตัดสินใจว่าเราควรจะทำการเทรดฝั่ง Buy หรือ ฝั่ง Sell

ประเภทของ MOVING AVERAGE INDICATORS

เส้นค่าเฉลี่ยที่เทรดเดอร์นิยมใช้จะมี 3 รูปแบบต่อไปนี้

  1. Simple Moving Average (SMA) : เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด คำนวณโดยให้ น้ำหนักข้อมูลทุกตัวเท่ากัน โดยอาศัยหลักการค่าฉลี่ยเลขคณิต การคำนวณโดยวิธีนี้จะมีการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาช้าที่สุด
  2. Linear Weighted Moving Average (WMA): เป็นวิธีการคำนวณที่มีความซับซ้อนขึ้นจาก SMA คำนวณโดยให้น้ำหนักทุกตัวไม่เท่ากัน โดยให้น้ำหนักกับข้อมูลที่เพิ่งเกิดล่าสุดสูงสุด และมีการถ่วงน้ำหนักข้อมูลในอดีตที่ห่างออกไปในลักษณะเชิงเส้น การคำนวณโดยวิธีนี้จะมีการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาปานกลาง
  3. Exponential Moving Average (EMA) : เป็นวิธีที่มีความซับซ้อนกว่า WMA ขึ้นไปอีก คำนวณโดยให้น้ำหนักทุกตัวไม่เท่ากัน โดยให้น้ำหนักกับข้อมูลที่เพิ่งเกิดล่าสุดสูงสุด และมีการถ่วงน้ำหนักข้อมูลในอดีตที่ห่างออกไปในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียล การคำนวณโดยวิธีนี้จะมีการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาที่ไว

ในการเทรดไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสูตรคำนวณ เนื่องจากโปรแกรมเทรดจะช่วยคำนวณให้และทำการแสดงผล เราสามารถทำการตั้งค่า Moving Average ให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้ ว่าต้องการการตอบสนองของราคาที่รวดเร็ว ปานกลาง หรือ ไว โดยอินดิเคเตอร์นี้จะถูกแสดงผลในลักษณะเป็นเส้นกราฟเราจึงเรียกว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่


การตั้งค่า Moving Average (SMA ,WMA,EMA) ให้เหมาะสมกับรูปแบบการลงทุน

ในส่วนของการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง SMA, WMA หรือ EMA  ซึ่งมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกือบทุกอย่าง จุดที่แตกต่างกันก็มีเพียงความเร็วของการให้สัญญาณซื่อ-ขายที่ช้าหรือเร็วกว่ากันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ทางเทคนิคให้ได้ผล จำเป็นต้องมีการตั้งค่าที่เหมาะสมกับรูปแบบที่เรากำลังลงทุนคือ

  1. รูปแบบการลงทุนในระยะสั้น ค่า Period ควรจะอยู่ที่ 5-20 วัน
  2. รูปแบบการลงทุนในระยะกลาง ค่า Period ควรจะอยู่ที่ 50-70 วัน
  3. รูปแบบการลงทุนในระยะยาว ค่า Period ควรจะอยู่ที่ 100-200 วัน

สรุป Indicator Moving Average

Indicator เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ถือได้ว่าเป็นอีกเครื่องมือมาตรฐาน ที่เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของเทรดเดอร์ เนื่องจากใช้งานได้ง่าย ใช้ดูแนวโน้ม หาจังหวะซื้อ จังหวะขาย ได้ด้วยเส้นแนวรับ แนวต้านของเส้น Moving Average รวมถึงยังสามารถบอกถึงสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มด้วยการตัดกันของเส้น (Crossover Technique)

นอกจาก 3 ประเภท ได้แก่ SMA, WMA, EMA แล้ว Indicator Moving Average ยังถูกนำไปต่อยอดและพัฒนาเป็นประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของเทรดเดอร์มืออาชีพมากขึ้น เช่น DEMA, TEMA และอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้ดีมากขึ้น ในการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยให้มีประสิทธิภาพนั้น จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย คือ


1) รูปแบบการลงทุนของผู้ใช้งานเป็นอย่างไร (Trading Style)

2) กรอบเวลาที่ต้องการใช้ (Time Frame)

3) จำนวนช่วงข้อมูลที่ต้องการ (Parameter หรือ Period)


อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็คือ เมื่อเจอตลาดที่มีความผันผวนสูงมากๆ (High Volatility) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แทบทุกประเภท ไม่อาจสามารถใช้เป็นแนวรับ แนวต้าน สำหรับซื้อขายได้ เนื่องจากการปรับตัวของราคาที่รุนแรงเกินไป


#Indicator Moving Average คืออะไร? สรุปง่าย ๆ หรือเปล่า

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  1. Investopedia
  2. Finnomena
  3. Lucid Trader
  4. Meawbin
  5. การคำนวณ Moving Average ผ่าน Excel

น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่างๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองปิดบวก 6 ดอลลาร์ รับแรงหนุนดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าบวกบอนด์ยีลด์สหรัฐร่วง

นักลงทุนจับตาผลการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขจ้างงานนนอกภาคการเกษตรในคืนนี้ นอกจากนี้ยังมีอัตราตัวเลขว่างงาน

อ่านเพิ่มเติม