logo

ราคาทองคำปรับตัวลดลง หลังสัปดาห์ที่แล้วดัชนี PCE สูงกว่าที่คาด

ข่าวราคาทองคำ

               ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดทองคำคือดัชนีดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีดอลลาร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.06 % สู่ระดับ 105.26 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 3.936%

               ราคาทองคำปรับตัวลดลงแตะรับดับที่1808 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเปิดเผยดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 5.4% ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าระดับ 5.3% ในเดือน ธ.ค. บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อยังคงสูงหนุนคาดการณ์ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดไว้

               นอกจากนี้ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้จัดการกับเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่อยู่โดยเร่งด่วนแล้ว และอาจจะหยุดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่สูงกว่าระดับ 5% เล็กน้อย โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะขึ้นไปสูงถึง 6%

ข่าวสำคัญเกี่ยวกับธนาคารกลาง

✎หัวหน้ามหภาคระดับโลกของ Tastylive ระบุว่า จากภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ออกมาแข็งแกร่ง เพียงพอที่ตลาดจะรับรู้ว่าเฟดอาจพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะยาว ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ 

ราคาทองคำวันนี้

ราคาทองคำตลาดโลก  
ปรับตัวลดลง -12.06 เหรียญ หรือ -0.66% อยู่ที่ระดับ 1,810.09 ดอลลาร์

สัญญาทองคำตลาด COMEX  
ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 9.70 ดอลลาร์ หรือ 0.53% ปิดที่ 1,817.10 ดอลลาร์/ออนซ์

กองทุนทองคำ SPDR  
วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 917.32 ตัน

ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง

-แรงกดดันเฟดหนุนปรับดอกเบี้ย

-ดัชนี PCE สูงกว่าที่คาดไว้

-ดัชนีดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ปรับตัวเพิ่มขึ้น


หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีการซื้อขายตลอด 24 ชม. ไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ข้อมูลดังกล่าวไม่มีเจตนาชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ

 

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ทองคำปิดบวก 6.50 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังสัปดาห์ที่ผ่านมาทองร่วงแรง

นักลงทุนเฝ้าติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญยอดขายบ้านมือสองและดัชนีภาคการผลิตจากเฟดริชมอนด์ในคืนนี้เวลา 21.00 น.

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 16/11/2023

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด

อ่านเพิ่มเติม