logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 9 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.17 จุด หรือ -0.16% มาอยู่ที่ระดับ 104.12 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.422% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.793% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.37% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • บริษัทจัดการด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐปรับลดคาดการณ์เกี่ยวกับจำนวนครั้งในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ลงเหลือ 2 ครั้ง หลังจากการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนมี.ค.
  • บรรดานักลงทุนปรับลดการถือครองกองทุนหุ้นทั่วโลกในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย. 2567 เนื่องจากพวกเขาคาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงน้อยกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ บรรดานักลงทุนเทขายกองทุนหุ้นทั่วโลกเป็นมูลค่าสุทธิ 2.08 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นการไหลออกของเงินทุนสุทธิรายสัปดาห์ครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 2567
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมทั้งรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,892.80 จุด ลดลง 11.24 จุด หรือ -0.03%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,202.39 จุด ลดลง 1.95 จุด หรือ -0.04% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,253.96 จุด เพิ่มขึ้น 5.44 จุด หรือ +0.03%
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยสัญญาทองคำยังคงปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขานรับข่าวธนาคารกลางหลายแห่งเข้าซื้อทองคำ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 9.15 เหรียญ หรือ 0.39% อยู่ที่ระดับ 2,339.15 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 5.60 ดอลลาร์ หรือ +0.24% ปิดที่ 2,351.00 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 30.4 เซนต์ หรือ 1.11% ปิดที่ 27.807 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 33.90 ดอลลาร์ หรือ 3.60% ปิดที่ 974.50 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 1.44 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 827.85 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 2.3 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 51.26 ตัน
  • ธนาคารกลางจีนได้ซื้อทองคำเพิ่มอีก 160,000 ออนซ์เข้าสู่ระบบทุนสำรองในเดือนมี.ค. ขณะที่ธนาคารกลางตุรกี อินเดีย คาซัคสถาน และอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันออก ได้เข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นในปีนี้เช่นกัน
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท TD Securities กล่าวว่า ข่าวธนาคารกลางการเข้าซื้อทองคำและสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ แต่ราคาทองคำลดช่วงบวกในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.หรือไม่ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาด
  • ซีตี้ รีเสิร์ช ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายทองคำและเงินในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยทองคำ ปรับขึ้น 9% เป็น $2,400/ออนซ์ นอกจากนี้ ซีตี้ รีเสิร์ช ยังมองแนวโน้มตลาดกระทิง (bull-case scenario) โดยทองคำ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายระยะ 6-12 เดือน เป็น $3,000/ออนซ์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ หลังจากมีรายงานว่ากองทัพอิสราเอลได้ลดจำนวนทหารที่ประจำการในพื้นที่ตอนใต้ของฉนวนกาซา และเริ่มเจรจาหยุดยิงรอบใหม่กับกลุ่มฮามาส ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่ออุปทานน้ำมันในตลาด
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 48 เซนต์ หรือ 0.55% ปิดที่ 86.43 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 79 เซนต์ หรือ 0.87% ปิดที่ 90.38 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • นักวิเคราะห์ของธนาคารยูบีเอสกล่าวว่า ราคาน้ำมันปรับตัวลงหลังจากมีรายงานว่า กองทัพอิสราเอลได้ลดจำนวนทหารที่ประจำการอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของฉนวนกาซา รวมทั้งข่าวที่ว่าอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเริ่มเจรจาหยุดยิงในฉนวนกาซาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งการตัดสินใจของอิสราเอลมีแนวโน้มที่จะทำให้ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์บรรเทาลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันชะลอตัวลง
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 06/06/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ ขานรับการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอ

อ่านเพิ่มเติม