ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.06 จุด หรือ -0.06% มาอยู่ที่ระดับ 106.12 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.611% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.973% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.36% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- ผู้ว่าการธนาคารกลางเอสโตเนีย และสมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่อีซีบีจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกบ้างภายในปลายปีนี้ หลังการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิ.ย. ถ้าหากเศรษฐกิจมีพัฒนาการไปตามที่คาดไว้
- คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนอาจลดลงอีก และอีซีบีอาจลดอัตราดอกเบี้ย ถ้าบรรลุเงื่อนไขการเพิ่มขึ้นของราคาในระยะยาว
- ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส และสมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางอาจจะไม่ดันราคาพลังงานสูงขึ้น และไม่น่ากระทบแผนการของอีซีบีที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.
- หัวหน้าคณะผู้แทนด้านญี่ปุ่นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า บีโอเจจำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะว่าสัญญาณบ่งชี้บางอันสำหรับการคาดการณ์เงินเฟ้อในตลาดญี่ปุ่นยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่บีโอเจตั้งไว้ที่ 2%
- รองประธานฝ่ายให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองจากบริษัท Teneo เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่ทางการญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะร่วมมือกันในการแทรกแซงตลาดปริวรรเงินตราเพื่อสกัดการอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ
- สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า PBOC คงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีไว้ที่ระดับ 3.45% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีของจีนเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น นอกจากนี้ PBOC ยังได้คงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีไว้ที่ระดับ 3.95% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์เช่นกัน โดยอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อหุ้นหลังจากตลาดดิ่งลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เช่นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,239.98 จุด เพิ่มขึ้น 253.58 จุด หรือ +0.67%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,010.60 จุด เพิ่มขึ้น 43.37 จุด หรือ +0.87%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,451.31 จุด เพิ่มขึ้น 169.30 จุด หรือ +1.11%
ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่นหุ้น
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -65.17 เหรียญ หรือ -2.72% อยู่ที่ระดับ 2,326.9 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 67.40 เหรียญ หรือ 2.79% ปิดที่ $2,346.40 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 160.7 เซนต์ หรือ 5.52% ปิดที่ 27.521 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 12.50 เหรียญ หรือ 1.32% ปิดที่ 931.30 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 831.9 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 1.75 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 47.21 ตัน
- นักวิเคราะห์วอลล์สตรีทส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าราคทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์หน้า ผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ 14 คน โดย Kitco News ชี้ว่า 10 คน (71%) มองว่าราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ 3 คน (21%) เชื่อว่าราคาจะทรงตัว และมีเพียง 1 คน (7%) ที่คาดการณ์ว่าราคาจะลดลง
- นักวิเคราะห์จากบริษัท TD Securities กล่าวว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดการล้างแค้นตอบโต้กันในตะวันออกลางในขณะนี้มีน้อยลงแล้ว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะเดียวกันนักลงทุนหันไปจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยคาดว่าราคาทองคำอาจจะกลับมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง หากดัชนี PCE ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ
ข่าวน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ หลังจากนักลงทุนประเมินว่าความเสี่ยงที่สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันนั้น มีไม่มากนักในระยะเวลาอันใกล้นี้
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 82.85 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.33% ปิดที่ 87.00 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ที่ 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 85 ดอลลาร์ และคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ที่ 82 ดอลลาร์ในปี 2025 โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 80 ดอลลาร์
- โทมัส วาร์กา นักวิเคราะห์จากบริษัท PVM แสดงความเห็นว่า การพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันจะเกิดขึ้นหากช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลกถูกปิด หรือกรณีที่ซาอุดีอาระเบียถูกดึงเข้ามาอยู่ในความขัดแย้งโดยตรง