logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.58 จุด หรือ -0.55% มาอยู่ที่ระดับ 105.73 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.632% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 5.037% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.41% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า แม้ว่าเฟดยังคงมุ่งเน้นในเรื่องการฉุดเงินเฟ้อให้ลดลง แต่เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11-12 มิ.ย.
  • แถลงการณ์ของเฟด ระบุว่า ตัวชี้วัดล่าสุดชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง การจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงในช่วงปีที่ผ่านมาแต่ยังคงเพิ่มขึ้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ยังขาดความคืบหน้าเพิ่มเติมในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของคณะกรรมการที่อัตรา 2%
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมครั้งล่าสุด และนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี การร่วงลงของหุ้นบริษัทผลิตชิปได้ฉุดดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,903.29 จุด เพิ่มขึ้น 87.37 จุด หรือ +0.23%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,018.39 จุด ลดลง 17.30 จุด หรือ -0.34% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,605.48 จุด ลดลง 52.34 จุด หรือ -0.33%
  • นางคริสตาลินา กอร์เกียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ตนไม่คิดว่าจะมีผลกระทบเชิงลบใด ๆ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างยุโรปและสหรัฐ แต่ระบุว่า ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดเกิดใหม่
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียสำหรับปี 2567 ในวันนี้ (30 เม.ย.) เนื่องจากยังคงมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียและมุ่งความสนใจไปที่ความจำเป็นในการออกมาตรการกระตุ้นมากขึ้นจากจีน ขณะนี้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัว 4.5% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.3 จุดเปอร์เซ็นต์จากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ 6 เดือนก่อน ขณะที่คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเชียในปีหน้าไว้ดังเดิมที่ 4.3%
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพียง 243,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งชะลอตัวลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น 303,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.8% ในเดือนเม.ย.
  • เงินเฟ้อทั่วไปในยูโรโซนทรงตัวที่ระดับ 2.4% ในเดือนเม.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจพลิกกลับมาขยายตัวในไตรมาส 1/2567 (ม.ค.-มี.ค.) ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาพลังงาน อาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ชะลอตัวลงจาก 2.9% ในเดือนมี.ค. สู่ระดับ 2.7% ในเดือนเม.ย.
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของอังกฤษลดลงในเดือนเม.ย.สู่ระดับ 49.1 โดยลดลงจากระดับ 50.3 ของเดือนมี.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ขั้นต้นที่ 48.7 โดยดัชนี PMI ที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตอยู่ในภาวะหดตัว
  • กิจกรรมการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวในอัตราที่ชะลอลงในเดือนเม.ย. เนื่องจากการผลิตและยอดสั่งซื้อใหม่นั้นชะลอการปรับลดลง ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นสู่ 49.6 ในเดือนเม.ย. จาก 48.2 ในเดือนมี.ค. แต่ต่ำกว่าระดับ 49.9 ที่รายงานใน PMI ขั้นต้น ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตยังคงหดตัว แต่เป็นการหดตัวน้อยที่สุดในรอบ 8 เดือน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันพุธ ก่อนที่นักลงทุนจะรู้ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 33.5 เหรียญ หรือ 1.47% อยู่ที่ระดับ 2,319.5 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.10 เหรียญ หรือ 0.35% ปิดที่ 2,311.00 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 9.4 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 26.748 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 6.70 เหรียญ หรือ 0.71% ปิดที่ 954.90 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.15 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 831.04 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ขายสุทธิ 1.15 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 48.07 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 3% ในวันพุธ (1 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังมีการคาดการณ์ว่าอิสราเอลและกลุ่มฮามาสอาจจะบรรลุข้อตกลงหยุดยิง
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 2.93 ดอลลาร์ หรือ 3.58% ปิดที่ 79.00 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 2.89 ดอลลาร์ หรือ 3.35% ปิดที่ 83.44 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมัน WTI และน้ำมันเบรนท์ต่างก็ปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์หรือนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2567 หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้น 7.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 26 เม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ภาวะเงินเฟ้อในยุโรปยังคงน่ากังวลหนุนดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลให้ราคาทองปรับตัวลดลง 12.4 ดอลลาร์

Fedwatch Tool ของ CME ชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 88.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% และให้น้ำหนักเพียง 11.3% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 12/06/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันอังคาร โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐ และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม