logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.29 จุด หรือ -0.28% มาอยู่ที่ระดับ 104.74 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.481% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.942% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.46% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • นายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า นโยบายการเงินของเฟดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพน้อยลงในการทำให้เศรษฐกิจคลายความร้อนแรงเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา พร้อมกับเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
  • ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝ่ายกิจการระหว่างประเทศของญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นพร้อมที่จะดำเนินการที่เหมาะสมในตลาดทุกเวลา เพื่อรับมือกับความเคลื่อนไหวที่มากเกินไปของค่าเงินเยน โดยออกคำเตือนเกี่ยวกับโอกาสที่จะมีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนครั้งใหม่
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์  โดยดีดตัวขึ้นหลังจากร่วงลงอย่างหนักในวันพฤหัสบดี และได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์และปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,069.59 จุด เพิ่มขึ้น 4.33 จุด หรือ +0.01%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,304.72 จุด เพิ่มขึ้น 36.88 จุด หรือ +0.70% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,920.80 จุด เพิ่มขึ้น 184.77 จุด หรือ +1.10%
  • แต่ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 2.34% หลังปรับตัวขึ้น 5 สัปดาห์ติดต่อกัน และปรับตัวลงมากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในรอบกว่า 1 ปี ขณะที่ดัชนี S&P ปรับตัวขึ้น 0.03% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 1.41%
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core Inflation) ของญี่ปุ่นชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนเม.ย. เนื่องจากเงินเฟ้อจากราคาอาหารชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ระดับ 2% ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัวขึ้น 2.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 2.6% และสอดคล้องกับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้
  • ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอังกฤษเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. 2567 สู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปีครึ่ง โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ภาคครัวเรือนมีมุมมองบวกเกี่ยวกับสถานะการเงินส่วนบุคคล ตามผลสำรวจที่จัดทำขึ้นก่อนการประกาศการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรีริชี ซูนัค
  • สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงขาออก (ODI) ที่ไม่ใช่ด้านการเงินของจีนในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.ของปีนี้รวมอยู่ที่ 3.43 แสนล้านหยวน (ราว 1.71 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 18.7% เมื่อเทียบปีต่อปี และสูงกว่าการเพิ่มขึ้น 12.5% ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปีนี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ โดยตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 4.95 เหรียญ หรือ 0.21% อยู่ที่ระดับ 2,333.75 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 2.70 เหรียญ หรือ 0.12% ปิดที่ 2,334.50 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 4.4 เซนต์ หรือ 0.14% ปิดที่ 30.499 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8.20 เหรียญ หรือ 0.80% ปิดที่ 1,038.60 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.15 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 832.21 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 0.02 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.9 ตัน
  • ผลสำรวจประจำสัปดาห์ของ Kitco news นักวิเคราะห์วอลล์สตรีทมองว่าราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงหรือทรงตัวในสัปดาห์นี้ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าราคาทองคำจะปรับตัวขึ้น
  • นักวิเคราะห์จากธนาคารซิตี้กรุ๊ปมองว่า แม้ตลาดจะคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดเพียงครั้งเดียวในปีนี้ แต่ซิตี้มองต่าง คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ย 5 ครั้งภายในปีนี้ อาจส่งผลให้ราคทองคำพุ่งขึ้นแตะ $3,000 ภายในครึ่งปีแรกของปี 2025
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ แต่ลดลงในรอบสัปดาห์นี้จากความกังวลที่ว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐจะทำให้อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ที่ระดับสูงไปอีกนาน ซึ่งจะสกัดกั้นความต้องการใช้น้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ หรือ 1.11% ปิดที่ 77.72 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ หรือ 0.93% ปิดที่ 82.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดลบ 2.8% และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 2.1% โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันซึ่งเป็นการลดลงยาวนานที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.
  • นักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า ความต้องการน้ำมันยังคงแข็งแกร่งเมื่อพิจารณาจากภาพรวม และคาดว่าการใช้น้ำมันโดยรวมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม