ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.07 จุด หรือ 0.07% มาอยู่ที่ระดับ 104.64 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.19 % มาอยู่ที่ระดับ 4.655% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.979% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.32% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- นีล คาชการี ประธานธนาคารกลางเฟด สาขามินนิแอโปลิส แสดงความเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ควร รอให้มีความคืบหน้าที่สำคัญ เกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อก่อนที่จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย
- โลเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางเฟด สาขาเมืองคลีฟแลนด์ เรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับปรุงวิธีการสื่อสารนโยบายการเงินกับประชาชน โดยเน้นย้ำว่าประชาชนควรได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจว่าสถานการณ์เศรษฐกิจส่งผลต่อการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอย่างไร
- มิเชล โบว์แมน หนึ่งในคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความเห็นว่าการเริ่มต้นลด QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังเร็วเกินไปโดยเธอสนับสนุนให้ชะลอการลด QE หรือใช้กระบวนการลด QE ที่ค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่ธนาคารกลางประกาศไว้
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ปรับลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม เลื่อนไปเป็นเดือนกันยายน
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีระบุว่า บรรดาธนาคารกลางรายใหญ่ ๆ มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับแนวโน้มเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฟด ซึ่งปกติจะเคลื่อนไหวเป็นรายแรก โน้มเอียงไปที่การใช้นโยบายเชิงเข้มงวดมากขึ้นท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยผลสำรวจความคาดหวังเงินเฟ้อของผู้บริโภคในยูโรโซน ซึ่งพบว่า ลดลงเล็กน้อย ในเดือนเมษายน ข้อมูลนี้สอดคล้องกับแผนการของ ECB ที่จะเริ่ม ลดอัตราดอกเบี้ย ลงในเร็วๆ นี้
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ก็ได้รับการคาดการณ์ในวงกว้างว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในฤดูร้อนนี้
- นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุว่า ขณะนี้เขามีความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากภาวะเงินเยนอ่อนค่าในปัจจุบัน ซึ่งตอกย้ำคำเตือนของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการที่เงินตราผันผวนมากเกินไป
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร โดยถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดที่เหนือระดับ 17,000 จุดเป็นครั้งแรก โดยได้ปัจจัยหนุนจากความแข็งแกร่งของหุ้นอินวิเดีย (Nvidia)
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,852.86 จุด ลดลง 216.73 จุด หรือ -0.55%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,306.04 จุด เพิ่มขึ้น 1.32 จุด หรือ +0.02%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 17,019.88 จุด เพิ่มขึ้น 99.09 จุด หรือ +0.59%
ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 8.38 เหรียญ หรือ 0.36% อยู่ที่ระดับ 2,360.13 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 22 เหรียญ หรือ 0.94% ปิดที่ 2,356.50 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.638 เหรียญ หรือ 5.37% ปิดที่ 32.137 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 28.20 เหรียญ หรือ 2.72% ปิดที่ 1,066.80 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 832.21 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 0.02 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.9 ตัน
- นักวิเคราะห์ยังคงมีมุมมองบวกต่อแนวโน้มราคาทองคำ โดยนักวิเคราะห์จากเอเอ็นแซด (ANZ) กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และอุปสงค์ทองคำในประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นราคาทองพุ่งขึ้นเช่นกัน
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า แม้ว่าขณะนี้ราคาทองคำ โลหะเงิน และทองแดง ต่างก็ชะลอตัวลง แต่ราคายังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ราคาโลหะทั้ง 3 ชนิดจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานโดยอ้างข้อมูลจากสภาทองคำโลก (WGC) ว่า ผู้บริโภคชาวจีนซื้อเครื่องประดับทองคำจำนวนมากถึง 603 ตันในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2565 โดย WGC คาดการณ์ว่าความต้องการเครื่องประดับทองคำในจีนจะยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2567
ข่าวน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันอังคาร ขานรับการคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการที่สหรัฐเข้าสู่ฤดูการขับขี่รถยนต์
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.71% ปิดที่ 79.83 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.35% ปิดที่ 84.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
- กลุ่มโอเปกพลัสมีกำหนดจัดการประชุมในวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย.นี้ ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพื่อกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน ขณะที่เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า โอเปกพลัสจะยังคงปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 2.2 ล้านบาร์เรล/วันโดยสมัครใจ
- นักวิเคราะห์จาก UBS คาดการณ์ว่า โอเปกพลัสอาจจะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตในระดับปัจจุบันต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน