logo

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 26/07/2023

  • ราคาทองปรับตัวขึ้น 10 ดอลลาร์ หลังจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อนั้นเริ่มลดลง
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท FXTM กล่าวว่า “ตลาดทองคำมีความผันผวนในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเป็นสัปดาห์ที่มีการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางรายใหญ่อย่าง เฟด และ ECB
  • สมาคมทองคำจีน (CGA) เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้ทองคำของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 16% แตะที่ 554.88 ตัน ขณะเดียวกัน ผลผลิตทองคำเพิ่มขึ้น 2.24% แตะที่ 178.598 ตัน
  • วันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ เดือน มิ.ย.  คาดการณ์ว่าออกมาน้อยกว่าเดิม หากเป็นไปตามที่คาดจะส่งผลดีต่อราคาทองคำ
  • กองทุนทองคํา SPDR ล่าสุดไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 919.0 ตัน
ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำอยู่ในช่วง Sideways
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันอังคาร ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้
  • ธนาคารรายใหญ่หลายแห่งของรัฐบาลจีนได้พากันเทขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเข้าซื้อเงินหยวนในตลาดสปอตออนชอร์และออฟชอร์ ในช่วงเช้าเมื่อวานนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะพยุงค่าเงินหยวน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินหยวนในตลาดสปอตออนชอร์และออฟชอร์ปรับตัวสูงขึ้น
  • IMF ระบุว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ควรสกัดคาดการณ์เงินเฟ้อไม่ให้หลุดจากการควบคุมและพุ่งสูงขึ้น ผ่านการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยการคุมเข้มนโยบายการเงินเพิ่มเติมในระยะใกล้จะช่วยป้องกันให้ไม่ต้องใช้มาตรการที่มีผลข้างเคียงมากกว่าเดิมในภายหลัง เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย
  • ราคาทองคำเมื่อวานนี้เปิดที่ 1954 ดอลลาร์ โดยที่ราคาทองลงไประดับต่ำสุดที่ราคา 1951 ดอลลาร์ ก่อนราคาจะขยับขึ้นมาปิดที่ราคา 1964 ดอลลาร์
มุมมองทองคำทาง Technical

เมื่อวานนี้ราคาทองคำปิดบวก 10 ดอลลาร์ หลังความกังวลเรื่องเงินเฟ้อของนักลงทุนคลายตัวลง (+) นักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 90% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และให้น้ำหนักเพียง 3.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% (-) ขณะที่ภาพรวมทองคำตอนนี้มองไปทิศทาง Sideways โดยวันนี้คาดว่าราคาทองคําจะวิ่งอยู่ในกรอบแนวรับที่ 1,955 ดอลลาร์ และ 1,945 ดอลลาร์ โดยมีแนวต้านที่ 2,000 ดอลลาร์ และ 2,010 ดอลลาร์

Technical View

แนวรับที่ 1 1955 แนวต้านที่ 1 2000
แนวรับที่ 2 1945 แนวต้านที่ 2 2010

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน ผู้ลงทุนไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจออกคำสั่งซื้อขาย และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม