Table of Contents
Toggleประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ XAUUSD (ทองคำ)
- ราคาทองปิดลบ 6 วันติดต่อกัน เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าบวกบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งขึ้นกดดันตลาดทองคำ นอกจากนี้ นายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟด สาขาฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า เฟดกำลังมีความคืบหน้าในการต่อสู้เพื่อทำให้เงินเฟ้อลดลง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐกำลังมาถึงช่วงเวลาที่พลิกผัน ทั้งนี้นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนียอดค้าปลีกในคืนนี้
- ซีอีโอของบริษัทวีตัน พรีเซียส เมทัลส์ (Wheaton Precious Metals) มั่นใจอย่างมากว่าราคาทองจะพุ่งขึ้นแตะระดับ2,500 ดอลลาร์ภายในระยะเวลา 2 ปี โดยเชื่อว่าทองคำจะได้ประโยชน์จากแรงซื้อท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจจีนและสหรัฐที่ส่งสัญญาณอ่อนแอลงในขณะนี้
- ตัวเลขเศรษฐกิจอังกฤษที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงผู้ขอรับสวัสดิการ เดือน ก.ค. เวลา 13.00 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลบวก(+) ต่อราคาทองคำ
- ตัวเลขเศรษฐกิจอังกฤษที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ดัชนีรายได้เฉลี่ยรวมโบนัส เดือน ก.ค. เวลา 13.00 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลบวก(+) ต่อราคาทองคำ
- ตัวเลขเศรษฐกิจอังกฤษที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. เวลา 13.00 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลบวกลบ(+/-) ต่อราคาทองคำ
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ยอดค้าปลีก m/m เดือน ก.ค. เวลา 19.30 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลลบ(-) ต่อราคาทองคำ
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิต รัฐนิวยอร์ก เดือน ส.ค. เวลา 19.30 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลบวก(+) ต่อราคาทองคำ
- ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.29% อยู่ที่ระดับ103.15 และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.02% มาอยู่ที่ระดับ 4.195% เมื่อคืนนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
- ดอลลาร์แข็งค่ากดดันทอง
- บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันทอง
- ความเห็นเจ้าหน้าที่เฟด
- ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ
มุมมองทองคำทาง Technical
ราคาทองคำถูกแรงกดดันให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยทดสอบจุดต่ำสุดที่บริเวณ 1902 หลังจากนั้นปรับตัวขึ้น โดยในช่วงเช้านี้ราคาเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแคบระหว่าง 1903 – 1908 แนวโน้มราคาทองคำเป็น Down trend ทั้งนี้ ตลาดจับตาการเปิดเผยข้อมูลดัชนียอดค้าปลีก แนวรับ/แนวต้านที่สำคัญถัดไป อยู่ที่ระดับ 1900 และ 1925 อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรซื้อขายอย่างระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนระหว่างวัน
Technical View
แนวรับที่ 1 1900 แนวต้านที่ 1 1925
แนวรับที่ 2 1890 แนวต้านที่ 2 1935
หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน ผู้ลงทุนไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจออกคำสั่งซื้อขาย และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน