logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 10 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.03 จุด หรือ -0.03% มาอยู่ที่ระดับ 104.09 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.377% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.745% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.37% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์ของผู้บริโภคประจำเดือนมี.ค.พบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อของชาวอเมริกันปรับตัวไร้ทิศทางในเดือนมี.ค.ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าและบริการที่สำคัญจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้น ขณะที่มีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่ผิดนัด
  • นายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า บีโอเจจำเป็นจะต้องพิจารณาเรื่องการปรับลดระดับการกระตุ้นทางการเงิน ถ้าหากแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงปรับสูงขึ้นต่อไป โดยเขากล่าวว่า “แนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวยังไม่ได้แตะระดับเป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ที่ 2% และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราจำเป็นต้องคงภาวะการเงินแบบผ่อนคลายไว้ต่อไป
  • ดอยซ์แบงก์ ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจที่จัดทำขึ้นในเดือนมี.ค. โดยระบุว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับราคาของบิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์จะร่วงหลุดระดับ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปีนี้
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันอังคาร ท่ามกลางการซื้อขายที่ซบเซา ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันนี้ และรายงานผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน ในวันศุกร์นี้
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,883.67 จุด ลดลง 9.13 จุด หรือ -0.02%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,209.91 จุด เพิ่มขึ้น 7.52 จุด หรือ +0.14% และ
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,306.64 จุด เพิ่มขึ้น 52.68 จุด หรือ +0.32%
  • กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นรายงานว่า ค่าแรงที่แท้จริง หรือค่าแรงที่ปรับตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดกำลังซื้อของผู้บริโภคญี่ปุ่น ดิ่งลง 1.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี หลังจากดิ่งลง 1.1% ในเดือนม.ค. โดยค่าแรงที่แท้จริงดิ่งลงในเดือนก.พ.เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงส่งผลลบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคญี่ปุ่น
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนมี.ค. อยู่ที่ 39.5 หลังปรับค่าตามฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้น 0.5 จุดจากเดือนก.พ. ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคที่มีมุมมองเป็นลบมีจำนวนมากกว่าผู้ที่มีมุมมองเป็นบวก
  • ธนาคารต่าง ๆ ในยูโรโซนได้ผ่อนคลายมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1/2567 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงและเศรษฐกิจที่ซบเซา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคัก ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 13.25 เหรียญ หรือ 0.57% อยู่ที่ระดับ 2,352.4 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 11.40 เหรียญ หรือ 0.48% ปิดที่ 2,362.40 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 17.7 เซนต์ หรือ 0.64% ปิดที่ 27.984 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 9.60 เหรียญ หรือ 0.99% ปิดที่ 984.10 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 0.86 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 828.71 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 1.44 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 50.4 ตัน
  • ข้อมูลอย่างเป็นทางการของ PBOC ระบุว่า PBOC ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 0.2% แตะที่ระดับ 72.74 ล้านออนซ์ในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ PBOC เริ่มซื้อทองคำรายเดือนในเดือนพ.ย. 2565
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท Blue Line Futures ในเมืองชิคาโกกล่าวว่า ราคาทองคำยังคงปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคาดว่าแรงซื้อทางเทคนิคจะยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำต่อไป นอกเสียจากว่าดัชนี CPI จะออกมาสูงเกินคาด แต่หากดัชนี CPI บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐ ราคาทองก็มีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,400 ดอลลาร์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร หลังจากมีรายงานว่าการเจรจาหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 1.20 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 85.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 96 เซนต์ หรือ 1.06% ปิดที่ 89.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • นักวิเคราะห์ระบุว่า หากอิหร่านทำสงครามโดยตรงกับอิสราเอล ก็จะทำให้ความขัดแย้งในตะวันออกกลางลุกลามออกไปจนส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในตลาด
  • สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.034 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 เม.ย. ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 05/02/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้

อ่านเพิ่มเติม