logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.13 จุด หรือ 0.12% มาอยู่ที่ระดับ 105.03 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.481% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.942% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.46% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ราฟาเอล บอสติค ประธานธนาคารกลางเฟดสาขาแอตแลนต้า ชี้ว่านโยบายการเงินของ Fed ที่ใช้ในปัจจุบัน กำลังใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการควบคุมการเติบโตของเศรษฐกิจและลดอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น อาจจำเป็นต้องตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าเดิม นอกจากนี้ เขายังมองว่าในอนาคต Fed อาจจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลังจากที่มีการปรับลดลง
  • นายเจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐ
  • อีซีบี เปิดเผยว่า ค่าจ้างในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรก ซึ่งสนับสนุนเหตุผลในการลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยค่าจ้างในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 4.69% ในไตรมาสแรก หลังจากที่เพิ่มขึ้น 4.45% ในไตรมาสก่อน
  • คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า เธอ “เชื่อมั่นจริงๆ” ว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนควบคุมได้แล้ว ขณะที่ผลกระทบจากวิกฤติพลังงาน และภาวะคอขวดในระบบห่วงโซ่อุปทานลดน้อยลง
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 600 จุดในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาที่น่ากังวล โดยความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทอินวิเดีย (Nvidia)
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,065.26 จุด ลดลง 605.78 จุด หรือ -1.53%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,267.84 จุด ลดลง 39.17 จุด หรือ -0.74% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,736.03 จุด ลดลง 65.51 จุด หรือ -0.39%
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ค.ของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 54.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือน จากระดับ 51.3 ในเดือนเม.ย. โดยดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคธุรกิจสหรัฐ
  • รายงานของเอสแอนด์พี โกลบอลยังระบุว่า กลุ่มผู้ผลิตรายงานว่าต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง ตั้งแต่โลหะ เคมีภัณฑ์ พลังงาน ไปจนถึงต้นทุนแรงงาน ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
  • ซีอีโอของเจพีมอร์แกนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า ประเทศจีนนั้นใหญ่เกินกว่าจะถูกมองข้ามได้ และนักลงทุนจำเป็นต้องทำธุรกิจในจีน พร้อมย้ำว่าจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอันดับ 2
  • ธนาคารกลางจีนได้แนะแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งเร่งอัตราการให้สินเชื่อในเดือนพ.ค. หลังจากที่การให้สินเชื่อโดยรวมขยายตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.
  • ผลสำรวจพบว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 1 ปีในเดือนพ.ค. โดยได้แรงหนุนจากความต้องการบริการ ขณะที่ภาคการผลิตส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ใกล้จะเกิดขึ้น
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจในสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -50.2 เหรียญ หรือ -2.11% อยู่ที่ระดับ 2,328.8 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 55.70 ดอลลาร์ หรือ 2.32% ปิดที่ 2,337.20 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.041 ดอลลาร์ หรือ 3.31% ปิดที่ 30.455 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 19.30 ดอลลาร์ หรือ 1.84% ปิดที่ 1,030.40 เหรียญ
  • มีรายงานว่า การนำเข้าทองคำของอินเดียในปี 2567 ลดลงเกือบ 1 ใน 5 เนื่องจากราคาทองคำที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคนำเครื่องประดับชิ้นเก่าไปแลกเปลี่ยนเป็นชิ้นใหม่
  • นักวิเคราะห์ของยูบีเอสยังคงมีมุมมองบวกต่อแนวโน้มทองคำ โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองคำในปี 2567 ขึ้นสู่ระดับ 2,600 ดอลลาร์/ออนซ์ พร้อมกับแนะนำให้นักลงทุนช้อนซื้อทองคำในราคาที่ระดับ 2,300 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือต่ำกว่านั้น โดยระบุถึงสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่แน่นอนและการที่ธนาคารกลางยังคงเข้าซื้อทองคำ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 5.18 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 833.36 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 1.17 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 45.75 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นการปิดในแดนลบติดต่อกันวันที่ 4 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานและส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 76.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 54 เซนต์ หรือ 0.66% ปิดที่ 81.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยลบจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล
  • นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันที่ 1 มิ.ย. โดยคาดว่าที่ประชุมยังคงมีมติปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปในครึ่งปีหลัง
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 11/10/2023

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยผลรายงานการประชุมเฟด ประจำวันที่ 19-20 ก.ย.ในวันนี้ รวมทั้งดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือน ก.ย.ในวันพรุ่งนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด

อ่านเพิ่มเติม

ราคาทองคำพุ่งขึ้นยืนเหนือระดับ 2000 ดอลลาร์ ท่ามกลางการจับตาประชุมเฟดในวันนี้

นักลงทุนให้น้ำหนักถึงเกือบ 100% โดยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00% – 5.25%

อ่านเพิ่มเติม