logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2566

  • ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ 3 ธนาคารกลางรายใหญ่ในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะจัดการประชุมในวันที่ 12-13 ธ.ค. ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะจัดการประชุมตรงกันในวันที่ 14 ธ.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางทั้ง 3 แห่งจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 43% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2567 และให้น้ำหนักเกือบ 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. 2567
  • นักวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า ECB จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 2 ของปี 2567 ซึ่งเร็วกว่าคาดการณ์เดิมก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3
  • เจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่า BoE จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2567 โดยจะปรับลดลง 0.50% ในไตรมาสดังกล่าว เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า BoE จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันตลอดปี 2567
  • ผลการสำรวจประจำเดือนพ.ย.ของเฟดสาขานิวยอร์กพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า อยู่ที่ 3.4% ลดลงจาก 3.6% ในเดือนต.ค. และยังแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 โดยข้อมูลดังกล่าวทำให้ตลาดมีความหวังว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวลงโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย และจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,404.93 จุด เพิ่มขึ้น 157.06 จุด หรือ +0.43%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,622.44 จุด เพิ่มขึ้น 18.07 จุด หรือ +0.39% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,432.49 จุด เพิ่มขึ้น 28.51 จุด หรือ + 0.20%
  • สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือนพ.ย.ในวันนี้ เวลาประมาณ 20.30 น.ตามเวลาไทย และจากนั้นจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย.ในวันพุธ โดยนักลงทุนจับตาข้อมูลเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐ 
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนเปิดเผยว่า ดัชนี CPI ลดลง 0.5% ในเดือนพ.ย.ทั้งเมื่อเทียบเป็นรายปีและรายเดือน หลังจากลดลง 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนต.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า CPI จีนอาจลดลง 0.1% ทั้งเทียบรายปีและรายเดือน ส่วนดัชนี PPI ในเดือนพ.ย.ลดลง 3.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังลดลง 2.6% ในเดือนต.ค. โดยเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า PPI จีนอาจลดลง 2.8% ในเดือนพ.ย.
  • ดัชนีราคาสินค้าภาคเอกชน (CGPI) ของญี่ปุ่น ซึ่งใช้วัดราคาสินค้าและค่าบริการที่บริษัทแต่ละแห่งเรียกเก็บจากบริษัทอื่น ๆ และถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อในภาคค้าส่ง ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงอย่างรุนแรงจากระดับ +0.9% ในเดือนต.ค. แต่อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดที่ +0.1% สำหรับเดือนพ.ย.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ โดยสัญญาทองคำปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 และร่วงหลุดจากระดับ 2,000 ดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐและการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -22.6 เหรียญ หรือ -1.13% อยู่ที่ระดับ 1,981.84 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 20.80 ดอลลาร์ หรือ 1.03% ปิดที่ 1,993.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 21.80 เซนต์ หรือ 0.94% ปิดที่ 23.058 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 4.10 ดอลลาร์ หรือ 0.45% ปิดที่ 915.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.01 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 878.54 ตันภาพรวมเดือนธันวาคม ซื้อสุทธิ 2.03 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 39.1 ตัน
  • ตลาดทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการที่นักลงทุนได้ลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนมี.ค. 2567 หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 199,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 180,000 ตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นจาก 150,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ขณะที่อัตราว่างงานเดือนพ.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 3.7% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 3.9%
  • สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยรายงานแนวโน้มตลาดทองคำสำหรับปี 2567 (Gold Outlook 2024) โดยระบุว่า ความต้องการทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2567 เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ WGC ยังระบุด้วยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกได้เข้าซื้อทองคำเพิ่มในระบบทุนสำรองในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเข้าซื้อต่อเนื่องในปี 2566 เราคาดว่าธนาคารกลางจะเดินหน้าซื้อทองคำต่อไปในปี 2567 โดยผลสำรวจล่าสุดของ WGC พบว่า ธนาคารกลางทั่วโลกจะซื้อทองคำเข้าสู่ระบบทุนสำรองอีก 24% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ
  • “มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศอาจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือซอฟต์แลนดิ้ง แต่ก็ยังมีความเป็นไปว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญภาวะถดถอย ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเลือกถือครองทองคำเพื่อลดความเสี่ยง นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในปีหน้า ซึ่งรวมถึงสหรัฐ, สหภาพยุโรป (EU), อินเดีย และไต้หวัน จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อลดความเสี่ยงเช่นกัน”
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันจันทร์ โดยภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา ท่ามกลางความกังวลที่ว่าอุปทานน้ำมันดิบอาจอยู่ในภาวะล้นตลาดและอุปสงค์เชื้อเพลิงอาจชะลอตัวลงในปีหน้า
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 71.32 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 19 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 76.03 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • แม้ที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรล/วันในไตรมาสแรกของปี 2567 แต่มติดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการสมัครใจของประเทศสมาชิก แทนที่จะเป็นการกำหนดโควตาอย่างเป็นทางการ จึงทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจว่าสมาชิกโอเปกพลัสจะปฏิบัติตามมติดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้ ผลการประชุมโอเปกพลัสไม่ได้ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดในปีหน้าได้
  • นักวิเคราะห์จาก RBC Capital Markets คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะยังคงผันผวนและไร้ทิศทาง จนกว่าตลาดจะเห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมติการประชุมของบรรดาสมาชิกโอเปกพลัส
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนปรับตัวลงอีกในเดือนพ.ย. ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน
  • นักวิเคราะห์ชื่อดังเชื่อ Bitcoin จะพุ่งไปแตะ 60,000 ดอลลาร์ได้ แม้ราคาจะพึ่งร่วงไปกว่า 5% ก็ตาม โดยเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ Bitcoin ลดลงไปกว่า 30 พันล้านดอลลาร์ จาก 848 พันล้านดอลลาร์เหลือเพียง 814 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องของตัวเหรียญอย่างชัดเจน
  • ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา Cardano มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้วถึง 48% นับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ด้าน ระบบนิเวศของ Cardano เองก็มีเติบโตทั้งในด้านการนำไปใช้และในเบื้องหลัง โดยนักวิเคราะห์คริปโตชื่อดัง คาดการณ์ว่า ADA จะพุ่งแตะ $10 ในตลาดกระทิงรอบต่อไป
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองคำปิดลบ 9 วันติดต่อกัน รับแรงกดดันบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี

นักลงทุนติดตามตัวเลขเศรษฐกิจยอดค้าปลีกอังกฤษและดัชนี CPI ยุโรปในวันนี้ ส่วนสหรัฐวันนี้ไม่มีปัจจัยสำคัญให้ติดตาม

อ่านเพิ่มเติม

สาย HODL ถึงกับท้อ! หลัง ChatGPT คาดการณ์ราคา Dogecoin ในปี 2030 ไว้เพียงแค่ 0.29 ดอลลาร์เท่านั้น

ChatGPT แชทบอท AI ยอดนิยมในปัจจุบันได้ระบุราคาที่เป็นไปได้ของ Dogecoin ในปี 2030 โดยพิจารณาถึงความแข็งแกร่งของชุมชนและเครือข่าย รวมถึงประสิทธิภาพที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม