logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 18 มกราคม 2567

  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 55% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. หลังจากที่ให้น้ำหนักกว่า 60% ในช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีก นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 40.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันดังกล่าว หลังจากที่ให้น้ำหนัก 34.9% ก่อนหน้านี้
  • ประธานาธิบดีคริสติน ลาการ์ดกล่าวให้สัมภาษณ์ที่ Bloomberg House ในเมืองดาวอสว่า ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูร้อน 
  • ปอนด์แข็งค่าหลังอังกฤษเผยอัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อังกฤษเร่งตัวขึ้นสู่ 4.0% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการเร่งตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน โดยปรับขึ้นจาก 3.9% ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี 
  • ดัชนี Hang Seng China Enterprises ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 มาตรฐานเนื่องจากชาวต่างชาติขายหุ้นมูลค่ากว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ เมื่อคำนวณสุทธิ ซึ่งมากที่สุดในรอบ 1 ปี
  • สำนักข่าวรอยเอตร์รายงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของจีนและยอดขายบ้านที่ตกต่ำครั้งใหม่ ทำให้นักลงทุนมีความมุ่งมั่นในการหลีกเลี่ยงตลาดของประเทศเป็นสองเท่า ส่งผลให้หุ้นร่วงลงเนื่องจากชาวต่างชาติลาออกเนื่องจากขาดการสนับสนุนนโยบายใหม่
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 ของจีน ขยายตัว 5.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ราว 5% หลังจากจีนยุติการใช้มาตรการล็อกดาวน์ป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงสู่ระดับ 3% ในปี 2565
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 5.6% ในเดือนธ.ค.
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความสนใจ ขณะที่เธอกำลังพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
  • นางกีตา โกปินาธ รองกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า นโยบายคุมเข้มด้านการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมานั้น มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐแล้วประมาณ 75%
  • การที่กบฏฮูตีในเยเมนโจมตีเรือพาณิชย์ในทะเลแดงแบบต่อเนื่องไม่เพียงทำให้อัตราค่าระวางเรือพุ่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะทำให้อัตราค่าระวางการขนส่งทางอากาศปรับตัวขึ้นด้วย เนื่องจากการไหลเวียนของการค้าทั่วโลกเผชิญกับภาวะติดขัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • Bitcoin ขึ้นแท่นสินทรัพย์ ETF ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ แซงหน้า ‘แร่เงิน’
  • นักวิเคราะห์ชี้ Dogecoin อาจพุ่งขึ้นไปแตะ 5 ดอลลาร์ได้ หลังราคาเหรียญมีรูปแบบคล้ายกับปี 2020
  • อ้างอิงจากแถลงการณ์ของ Binance มีจำนวนเหรียญ BNB ถูกเผาไปจำนวนทั้งสิ้น 2.14 ล้านเหรียญ ตามแผนการ Pioneer Burn Program  ซึ่งมูลค่าของเหรียญที่ถูกเผาไปนั้นมีมูลค่าราว 2.2 หมื่นล้านบาท
  • สรรพากรสหรัฐฯ ยอมถอย ปรับแก้กฎหมายไม่ต้องรายงานเงินได้จากคริปโตที่มีมูลค่าเกิน 10,000 ดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -22.16 เหรียญ หรือ -1.09% อยู่ที่ระดับ 2,006.35 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 23.70 เหรียญ หรือ 1.17% ปิดที่ 2,006.50  เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 42.40 เซนต์ หรือ 1.84% ปิดที่ 22.669  เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 14.80 ดอลลาร์ หรือ 1.64% ปิดที่ 889.60  เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.3 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 862.1 ตันภาพรวมเดือนมกราคม ขายสุทธิ 17.01 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 17.01 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ หลังจากมีรายงานว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในพื้นที่บางแห่งของสหรัฐปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันลดช่วงบวก หลังจีนเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์พลังงานในจีน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 16 เซนต์ หรือ 0.22% ปิดที่ 72.56 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 41 เซนต์ หรือ 0.52% ปิดที่ 77.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมัน WTI ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า รัฐนอร์ท ดาโคตา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ของสหรัฐ เผชิญกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์องศาฟาเรนไฮต์ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในรัฐแห่งนี้ลดลงราว 650,000 – 700,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นเป็นสัดส่วนสูงกว่า 50% ของการผลิตในภาวะปกติ
  • อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันลดช่วงบวก หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า GDP จีนขยายตัว 5.2% ในไตรมาส 4/2566 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 5.3% และทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจว่าอุปสงค์น้ำมันในจีนจะฟื้นตัวในปีนี้หรือไม่
  • EIA คาดว่า ผลผลิตน้ำมันของสหรัฐจะลดลงเหลือ 9.68 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.พ. อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลงของภูมิภาคอีเกิลฟอร์ดและแบ็คเคน ขณะที่ผลผลิตจากภูมิภาคที่มีการผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับต้น ๆ ของสหรัฐอย่างลุ่มน้ำเพอร์เมียนก็ชะลอตัวลง
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม