logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567

  • จับตารอคอย! หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ก.ล.ต สหรัฐจะยกฟ้องคดีเกี่ยวกับคริปโตทุกตัวหรือไม่ ?
  • เจ้าหนี้สุดช้ำ ! FTX ประกาศคืน Bitcoin ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในเรทราคาต่ำกว่า 18,000 ดอลลาร์
  • Ripple เตรียมเปิดตัว ‘Ripple Payment’ บริการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนแบบทันทีในสหรัฐฯ
  • Nayib Bukele ชนะการเลือกตั้งประธาธิบดี เอลซัลวาดอร์สมัยที่ 2 ส่งสัญญาณที่ดีให้กับชาว Bitcoin
  • Visa ประกาศเปิดตัว ระบบการถอนสกุลเงินดิจิทัลใน 145 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
  • ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวจะพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันผลกระทบที่มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งทำให้ธนาคารกลางมีเวลาในการสร้างความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงลดลงต่อไป
  • กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว แต่ก็อดเตือนไม่ได้ว่า Fed ยังจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบอย่างมากในการประกาศชัยชนะต่อภาวะเงินเฟ้อ
  • ฝ่ายวิจัยโลกจากแบงก์ ออฟ อเมริกาคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. และคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยรวม 0.75% ในปีนี้
  • นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ ยังคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในการประชุมวันที่ 30 เม.ย. – 1 พ.ค. แทนที่จะเป็นเดือนมี.ค. อย่างไรก็ตาม โกลด์แมน แซคส์ ยังคงคาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลงรวมกัน 1.25% ตลอดปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของบาร์เคลย์ส ที่คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในเดือนพ.ค. แทนเดือนมี.ค. เช่นกัน
  • อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนชะลอตัวลงตามความคาดหมายในเดือนม.ค. แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงน้อยเกินคาด และปัจจัยดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ 
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 187,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.7% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.8%
  • หัวหน้าฝ่ายวิจัยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กลุ่มติดอาวุธได้ทำการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงนั้น จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งขึ้น และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ดีมานด์บ้านใหม่ในจีนมีแนวโน้มจะทรุดลงราว 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับจีนที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวชะลอตัวลงสู่ระดับ 4.6% ในปีนี้ และจะลดลงอีกในระยะกลาง โดยคาดว่าจะขยายตัวราว 3.5% ในปี 2028
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจพลิกกลับมาขยายตัวในไตรมาส 4 โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่นักวิเคราะห์ก็เตือนว่า การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ รัฐบาลจะประกาศข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4 ในวันที่ 15 ก.พ.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -15.34 เหรียญ หรือ -0.75% อยู่ที่ระดับ 2,039.49 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 17.40 เหรียญ หรือ 0.84% ปิดที่ 2,053.70 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 44 เซนต์ หรือ 1.89% ปิดที่ 22.796 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 20.70 เหรียญ หรือ 2.24% ปิดที่ 901.60 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 851.72 ตันภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ซื้อสุทธิ 0.57 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 27.39 ตัน
  • สัญญาทองคำถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานแข็งแกร่งเกินคาด
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ และปรับตัวลงรายสัปดาห์ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้ และอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมันดิบ นอกจากนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงในจีนและความเป็นไปได้ที่ความตึงเครียดในตะวันออกกลางอาจลดลงนั้น ทำให้มีแรงขายสัญญาน้ำมันดิบออกมา
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 1.54 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 72.28 ดอลลาร์/บาร์เรล และร่วงลงเกือบ 7.4% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 77.33 ดอลลาร์/บาร์เรล และร่วงลง 6.8% ในรอบสัปดาห์นี้
  • ทั้งสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์และสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบราว 3 สัปดาห์และปรับตัวลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.
  • สนพ. ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ราคาน้ำมันดิบปรับลดสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์พลังงานที่ซบเซาในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งนักลงทุนคาดว่าการปรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 ของกลุ่มโอเปกพลัส อาจไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับอุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่ยังคงอ่อนแอ ขณะที่รัสเซียเพิ่มขึ้นหลังสภาพอากาศปรับตัวดีขึ้น
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 18/04/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจชะลอเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

อ่านเพิ่มเติม