logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 2 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.52 จุด หรือ 0.5% มาอยู่ที่ระดับ 105.0 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.11 % มาอยู่ที่ระดับ 4.313% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.11 % มาอยู่ที่ระดับ 4.707% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.39% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซ และสมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีอาจลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 1.00% ในปีนี้ แต่ก็ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ภายในอีซีบีในประเด็นนี้
  • สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรีย กล่าวว่า อีซีบีอาจลดอัตราดอกเบี้ยก่อนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจยุโรปขยายตัวช้ากว่าของสหรัฐ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้เปิดเผยผลสำรวจความเห็นบริษัทญี่ปุ่น หรือดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการญี่ปุ่นพุ่งแตะสูงสุดเกือบ 33 ปี
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาดและส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,566.85 จุด ลดลง 240.52 จุด หรือ -0.60%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,243.77 จุด ลดลง 10.58 จุด หรือ -0.20% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,396.83 จุด เพิ่มขึ้น 17.37 จุด หรือ +0.11%
  • ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรทั่วโลกปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรก และนักลงทุนก็คาดการณ์ว่า ตลาดจะแกว่งตัวผันผวนต่อไปในอนาคต หลังจากตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบในช่วงที่ผ่านมาจากการที่นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ไปมาในประเด็นที่ว่า ธนาคารกลางสำคัญแต่ละแห่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด 
  • สำนักข่าวบลูมเบิร์กเผยว่า การจ้างงานของสหรัฐได้ปรับตัวขึ้นอย่างน้อย 200,000 ตำแหน่งเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบรายปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐพร้อมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป โดยมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะทำให้เงินเฟ้อแรงอีก
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.3 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 47.8 ในเดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 48.1
  • หยวนอ่อนค่าในวันนี้ โดยถูกกดดันจากดอลลาร์ที่ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ แม้ข้อมูลล่าสุดส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวเร็วขึ้น และธนาคารกลางจีนพยายามต่อเนื่องเพื่อทำให้ค่าเงินหยวนมีเสถียรภาพก็ตาม
  • นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ตลาดปริวรรตเงินตรากำลังเผชิญกับการเก็งกำไรในขณะนี้ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ พร้อมกับเตือนว่าการเก็งกำไรส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยน และทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงมากเกินไป
  • ธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ 4.5% ในปีนี้ จากการขยายตัว 5.2% ในปี 2566 โดยถูกกดันจากปัญหาหนี้สูง ภาคอสังหาริมทรัพย์อ่อนแอ และความขัดแย้งทางการค้า
  • S&P Global ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของ JPMorgan Chase จากเดิมที่ “คงที่” เป็น “แนวโน้มดีขึ้น” โดยอ้างอิงถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจสินเชื่อและการซื้อขาย ที่ทำผลงานได้ดีกว่าธนาคารอื่นๆ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน (PCE) สอดคล้องกับการคาดการณ์
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 18.67 เหรียญ หรือ 0.84% อยู่ที่ระดับ 2,251.67 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 18.70 เหรียญ หรือ 0.84% ปิดที่ 2,257.10 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.57 เซนต์ หรือ 0.63% ปิดที่ 25.073 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 9.70 เหรียญ หรือ 1.05% ปิดที่ 911.40 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 3.17 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 826.98 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 3.17 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 52.13 ตัน
  • การพุ่งขึ้นของราคาทองคำในอินเดียมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ความต้องการใช้ทองคำในอินเดียชะลอตัวลง โดยอินเดียถือเป็นประเทศที่ใช้ทองคำในปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า การนำเข้าทองคำของอินเดียมีแนวโน้มทรุดตัวลงกว่า 90% ในเดือนมี.ค. และแตะที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด
  • นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และโกลด์แมน แซคส์ ต่างก็มีมุมมองบวกต่อแนวโน้มราคาทองคำ โดยเจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่าราคาทองคำอาจจะพุ่งแตะระดับ 2,500 ดอลลาร์/ออนซ์ในปีนี้ และโกลด์แมน แซคส์คาดว่าราคาทองคำจะพุ่งแตะระดับ 2,300 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ ขานรับความหวังที่ว่าเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีนจะเป็นปัจจัยหนุนอุปสงค์น้ำมัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากแนวโน้มอุปทานน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส และการโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในรัสเซีย
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 83.71 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 87.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ผลพวงอย่างหนึ่งจากมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียและเวเนซุเอลาคือผู้ส่งออกน้ำมันจากสหรัฐได้ประโยชน์เต็ม ๆ โดยสามารถรุกคืบเข้าสู่ตลาดต่าง ๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ใต้อิทธิพลของกลุ่มโอเปคพลัส (OPEC+) ได้
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาจปรับขึ้นราคาขายน้ำมันอย่างเป็นทางการ (OSP) สำหรับราคาน้ำมันดิบประเภท Arab Light ที่ส่งออกไปยังตลาดเอเชียในเดือนพ.ค. หลังราคาน้ำมันดิบในตะวันออกกลางปรับตัวขึ้นในเดือนมี.ค.ทั้งนี้ แหล่งข่าวด้านการกลั่น 6 รายในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ซาอุดีอาระเบียอาจปรับราคา OSP ขึ้น 20-30 เซนต์ต่อบาร์เรลในเดือนพ.ค. จากระดับเดือนเม.ย.
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 04/04/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่แสดงมุมมองบวกต่อภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยของเฟด

อ่านเพิ่มเติม