logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 10 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.03 จุด หรือ -0.03% มาอยู่ที่ระดับ 104.09 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.377% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.745% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.37% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์ของผู้บริโภคประจำเดือนมี.ค.พบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อของชาวอเมริกันปรับตัวไร้ทิศทางในเดือนมี.ค.ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าและบริการที่สำคัญจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้น ขณะที่มีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่ผิดนัด
  • นายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า บีโอเจจำเป็นจะต้องพิจารณาเรื่องการปรับลดระดับการกระตุ้นทางการเงิน ถ้าหากแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงปรับสูงขึ้นต่อไป โดยเขากล่าวว่า “แนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวยังไม่ได้แตะระดับเป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ที่ 2% และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราจำเป็นต้องคงภาวะการเงินแบบผ่อนคลายไว้ต่อไป
  • ดอยซ์แบงก์ ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจที่จัดทำขึ้นในเดือนมี.ค. โดยระบุว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับราคาของบิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์จะร่วงหลุดระดับ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปีนี้
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันอังคาร ท่ามกลางการซื้อขายที่ซบเซา ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันนี้ และรายงานผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน ในวันศุกร์นี้
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,883.67 จุด ลดลง 9.13 จุด หรือ -0.02%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,209.91 จุด เพิ่มขึ้น 7.52 จุด หรือ +0.14% และ
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,306.64 จุด เพิ่มขึ้น 52.68 จุด หรือ +0.32%
  • กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นรายงานว่า ค่าแรงที่แท้จริง หรือค่าแรงที่ปรับตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดกำลังซื้อของผู้บริโภคญี่ปุ่น ดิ่งลง 1.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี หลังจากดิ่งลง 1.1% ในเดือนม.ค. โดยค่าแรงที่แท้จริงดิ่งลงในเดือนก.พ.เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงส่งผลลบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคญี่ปุ่น
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนมี.ค. อยู่ที่ 39.5 หลังปรับค่าตามฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้น 0.5 จุดจากเดือนก.พ. ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคที่มีมุมมองเป็นลบมีจำนวนมากกว่าผู้ที่มีมุมมองเป็นบวก
  • ธนาคารต่าง ๆ ในยูโรโซนได้ผ่อนคลายมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1/2567 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงและเศรษฐกิจที่ซบเซา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคัก ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 13.25 เหรียญ หรือ 0.57% อยู่ที่ระดับ 2,352.4 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 11.40 เหรียญ หรือ 0.48% ปิดที่ 2,362.40 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 17.7 เซนต์ หรือ 0.64% ปิดที่ 27.984 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 9.60 เหรียญ หรือ 0.99% ปิดที่ 984.10 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 0.86 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 828.71 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 1.44 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 50.4 ตัน
  • ข้อมูลอย่างเป็นทางการของ PBOC ระบุว่า PBOC ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 0.2% แตะที่ระดับ 72.74 ล้านออนซ์ในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ PBOC เริ่มซื้อทองคำรายเดือนในเดือนพ.ย. 2565
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท Blue Line Futures ในเมืองชิคาโกกล่าวว่า ราคาทองคำยังคงปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคาดว่าแรงซื้อทางเทคนิคจะยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำต่อไป นอกเสียจากว่าดัชนี CPI จะออกมาสูงเกินคาด แต่หากดัชนี CPI บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐ ราคาทองก็มีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,400 ดอลลาร์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร หลังจากมีรายงานว่าการเจรจาหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 1.20 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 85.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 96 เซนต์ หรือ 1.06% ปิดที่ 89.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • นักวิเคราะห์ระบุว่า หากอิหร่านทำสงครามโดยตรงกับอิสราเอล ก็จะทำให้ความขัดแย้งในตะวันออกกลางลุกลามออกไปจนส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในตลาด
  • สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.034 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 เม.ย. ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

มูลค่าตลาด Bitcoin พลิกแซง Meta ขึ้นแท่นสินทรัพย์มูลค่าตลาดอันดับ 11 ของโลก

ด้วยการที่ราคาขึ้นนั้นทำให้มูลค่าตลาดของ Bitcoin มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มูลค่าตลาดของ Bitcoin ได้พุ่งไปแตะจำนวน 4.8 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงสุดนับตั้งแต่เริ่มปี 2023

อ่านเพิ่มเติม

ราคา Bitcoin มีสิทธิ์พุ่งเหนือ 56,000 ดอลลาร์ หาก BTC ETF ได้รับการอนุมัติ

มีการคาดการณ์จากแพลตฟอร์มบริการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Matrixport ว่าราคา Bitcoin อาจเพิ่มขึ้นไประหว่าง 42,000 ถึง 56,000 ดอลลาร์ ถ้าหากว่า Spot Bitcoin ETF ของ BlackRock ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

อ่านเพิ่มเติม