logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 22 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.01 จุด หรือ -0.01% มาอยู่ที่ระดับ 106.18 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.643% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 5.0% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.36% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า บรรดานักลงทุนและผู้สังเกตการณ์ในตลาดการเงินมองว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินคาดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงนั้น ถือเป็นความเสี่ยงมากที่สุดต่อเสถียรภาพด้านการเงิน ซึ่งนำไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากกว่าที่คาด เฟดระบุในรายงานเสถียรภาพด้านการเงินรายครึ่งปีซึ่งเปิดเผยเมื่อวันศุกร์
  • ด้านบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความเห็นว่า เฟดยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ขณะที่ตลาดคาดการณ์ในขณะนี้ว่า มีโอกาสประมาณ 67% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.
  • ผลสำรวจของ Fed ชี้อัตราเงินเฟ้อและการเลือกตั้งสหรัฐเป็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่สำคัญ
  • นายออลลี เรห์น สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า หากเงินเฟ้อจะยังคงมาบรรลุเป้าหมาย 2% ของเราในลักษณะที่ยั่งยืน ก็จะถึงเวลาเหมาะสมในเดือนมิ.ย.ที่จะเริ่มผ่อนคลายจุดยืนนโยบายการเงิน และลดดอกเบี้ย”
  • นายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า บีโอเจอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ถ้าการร่วงลงของเยนดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินต่อจังหวะเวลาในการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งต่อไป
  • ไอเอ็มเอฟระบุว่า ธนาคารกลางในเอเชียควรจะมุ่งความสนใจไปยังภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศตนเอง และควรหลีกเลี่ยงจากการตัดสินใจกำหนดนโยบายโดยให้ความสำคัญมากเกินไปกับการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ 
  • หยวนอ่อนค่ามาที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ โดยถูกกดดันจากรายงานการโจมตีอิหร่านของอิสราเอล ซึ่งได้กระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรสหลังเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดลดลง โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นเน็ตฟลิกซ์ และการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,986.40 จุด เพิ่มขึ้น 211.02 จุด หรือ +0.56%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,967.23 จุด ลดลง 43.89 จุด หรือ -0.88% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,282.01 จุด ลดลง 319.49 จุด หรือ -2.05%
  • ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์บวก 0.01% ขณะที่ S&P500 ลดลง 3.05% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 5.52%
  • ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลงรายสัปดาห์รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 31 ต.ค. 2565
  • ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2565 และดัชนี S&P500 ปรับตัวลง 5.46% แล้วจากระดับปิดสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค.
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และยุโรปต้องทำมากกว่านี้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต และจีนก็ควรจะดำเนินการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยข้อมูลว่า ยอดค้าปลีกของอังกฤษชะงักงันในเดือนมี.ค. 2567 แม้อัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้วที่ยอดค้าปลีกไม่มีการเติบโต (0.0%) เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นด้านการคลังของจีนเริ่มมีประสิทธิผลน้อยลง และถูกใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อชะลอการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายด้านอุตสาหกรรมและการบริโภค
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ และปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการโจมตีตอบโต้ระหว่างอิหร่านและอิสราเอลได้กระตุ้นแรงซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -17.19 เหรียญ หรือ -0.71% อยู่ที่ระดับ 2,392.07 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 15.80 ดอลลาร์ หรือ 0.66% ปิดที่ 2,413.80 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้น 1.97% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 7.48 เซนต์ หรือ 2.64% ปิดที่ 29.128 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 10.70 ดอลลาร์ หรือ 1.12% ปิดที่ 943.80 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 4.31 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 831.9 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 1.75 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 47.21 ตัน
  • บรรดานักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากวิตกกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังอิหร่านไม่ได้ให้ความสำคัญกับข่าวการโจมตีของอิสราเอล ซึ่งก็เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายได้
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 41 เซนต์ หรือ 0.50% ปิดที่ 83.14 ดอลลาร์/บาร์เรล 
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 18 เซนต์ หรือ 0.21% ปิดที่ 87.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดบวก 12 เซนต์ สู่ระดับ 82.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI และน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นมากกว่า 3 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงเช้าวันศุกร์ หลังจากมีรายงานข่าวว่า มีเสียงระเบิดที่เมืองอิสฟาฮานของอิหร่าน ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่าเป็นการโจมตีของอิสราเอล แต่สัญญาน้ำมันดิบได้ลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา หลังอิหร่านไม่ได้ให้ความสำคัญกับข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุว่าไม่ได้วางแผนที่จะตอบโต้อิสราเอลแต่อย่างใด
  • ตลาดน้ำมันยังได้แรงหนุนหลังสภาสหรัฐได้เพิ่มการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของอิหร่านหลังจากที่อิหร่านเปิดฉากโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอิหร่านถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ในกลุ่มโอเปก
  • นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์และคอมเมิร์ซแบงก์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในวันศุกร์ โดยพิจารณาจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงแนวโน้มอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และปริมาณการผลิตที่จำกัดของกลุ่มโอเปกพลัส
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 26/10/2023

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงายว่า สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัจจัยนี้จะสร้างความเสียหายต่อผลกำไรภาคเอกชน และความกังวลดังกล่าวก็กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่อย่างในช่วงนี้

อ่านเพิ่มเติม