logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.42 จุด หรือ -0.4% มาอยู่ที่ระดับ 105.31 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.589% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.16 % มาอยู่ที่ระดับ 4.877% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.29% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยรายงานที่ชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างโดดเด่น และด้วยแนวโน้มของเงินเฟ้อของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนเฟด ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ มีส่วนเพิ่มแรงหนุนต่อค่าเงินดอลลาร์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มถูกหนุนเพียงระดับจำกัด และอาจถูกกดดันให้ปรับตัวลงได้
  • อดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า ญี่ปุ่นอาจจะเข้าแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินเยนต่อไปจนกว่าความเสี่ยงของนักเก็งกำไรที่ทำให้เยนดิ่งลง ทั้งนี้ เยนพุ่งขึ้นในวันนี้จากสิ่งที่นักลงทุนคาดว่าเป็นการแทรกแซงเป็นวันที่ 2 หลังจากที่มีการแทรกแซงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่อสกัดกั้นการร่วงลงของเยน
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนมี.ค.ในวันนี้ โดยระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของ BOJ มีความระมัดระวังที่จะไม่ส่งสัญญาณกับตลาดว่า การที่ BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปีเป็นการส่งสัญญาณถึงการเริ่มต้นวงจรการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน ขณะเดียวกัน BOJ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินในแนวทางที่เหมาะสม
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยตลาดยังคงได้แรงหนุนจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า นอกจากนี้ การชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาด
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,225.66 จุด เพิ่มขึ้น 322.37 จุด หรือ +0.85%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,064.20 จุด เพิ่มขึ้น 45.81 จุด หรือ +0.91% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,840.96 จุด เพิ่มขึ้น 235.48 จุด หรือ +1.51%
  • องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับเพิ่มประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2024 เป็น 3.1% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.9% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นสำหรับสหรัฐฯ จีน และอินเดีย คาดว่าการขยายตัวจะอยู่ที่ 3.2% ในปีหน้า
  • OECD คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 2.6% ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.1% ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 4.9% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.7% และคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจจะขยายตัว 0.7% ดีกว่าตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 0.6%
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -15.7 เหรียญ หรือ -0.68% อยู่ที่ระดับ 2,303.8 เหรียญ
  • ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 1.40 เหรียญ หรือ 0.06% ปิดที่ 2,309.60 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8.1 เซนต์ หรือ 0.30% ปิดที่ 26.829 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 7.70 เหรียญ หรือ +0.81% ปิดที่ 962.60 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.44 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 829.6 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ขายสุทธิ 2.59 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 49.51 ตัน
  • สภาทองคำโลก (WGC) รายงานว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกซึ่งนับรวมถึงการซื้อขายนอกตลาด (OTC) ด้วยนั้น เพิ่มขึ้น 3% สู่ระดับ 1,238 ตันในไตรมาส 1/2567 ซึ่งเป็นไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 เนื่องจากการซื้อขายทองคำในตลาด OTC เป็นไปอย่างคึกคัก นอกจากนี้ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกยังคงเดินหน้าซื้อทองคำเข้าคลังอย่างต่อเนื่อง แม้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
  • อย่างไรก็ดี รายงานยังชี้ให้เห็นว่าความต้องการทองคำแท่งและทองคำเหรียญในตลาด ยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนรายบุคคลต่อทองคำ  อีกทั้งรายงานยังมีการเน้นย้ำถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณสัญญาซื้อขายทองคำในตลาด Shanghai Futures Exchange (SHFE) และ Shanghai Gold Exchange เมื่อกลางเดือนเมษายน  ซึ่งบ่งชี้ถึงศักยภาพของการซื้อขายทองคำในตลาดฟิวเจอร์ที่เพิ่มมากขึ้น
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน โดยตลาดถูกกดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกชะลอตัว, สต็อกน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และจากการที่นักลงทุนมีความหวังน้อยลงว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 5 เซนต์ หรือ 0.06% ปิดที่ 78.95 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2567
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 23 เซนต์ หรือ 0.28% ปิดที่ 83.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • อเล็กซ์ โฮดส์ นักวิเคราะห์จากบริษัท StoneX กล่าวว่า ราคาน้ำมัน WTI และน้ำมันเบรนท์ต่างก็ปิดที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลา 200 วัน ซึ่งในทางเทคนิคแล้วถือเป็นการบ่งชี้ว่าราคาน้ำมันเริ่มเข้าสู่ภาวะตลาดหมี
  • นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากความกังวลว่าอุปสงค์น้ำมันจะชะลอตัวลงในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยข้อมูลจาก Insights Global ระบุว่า สต็อกก๊าซออยล์ (Gasoil) ซึ่งรวมถึงน้ำมันดีเซล ที่โรงกลั่นและศูนย์จัดเก็บน้ำมันในเมืองอัมสเตอร์ดัม-รอตเตอร์ดัม-แอนต์เวิร์ปในยุโรปนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 3% ในรอบสัปดาห์ที่นับจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 2 พ.ค.
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

มูลค่าตลาด ‘Bitcoin’ ปาดหน้าแซง ‘Visa’ ได้อีกครั้งหลังจากวิกฤตล่มสลาย FTX

การล่มสลายของ FTX ทำให้มูลค่าตลาดของ Bitcoin ลดลงไปกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 4 วันเมื่อปีที่แล้ว แต่ทว่า Bitcoin ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างมากถึง 48% นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 ภายในระยะเวลา 2 เดือน

อ่านเพิ่มเติม