logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.29 จุด หรือ 0.28% มาอยู่ที่ระดับ 104.9 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.426% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.871% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.45% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. ซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงมากพอที่จะทำให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่ โดยกรรมการเฟดมองว่า แม้เงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงในปีที่แล้ว แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ปรับตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
  • คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในสมาชิกบอร์ดผู้ว่าการเฟดกล่าวว่า เขาไม่คิดว่าเฟดมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวในช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลง แต่นายวอลเลอร์ก็ยังไม่พร้อมที่จะสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเขาต้องการเห็นหลักฐานที่จะสร้างความมั่นใจมากขึ้น ก่อนที่จะดำเนินการดังกล่าว
  • นายฟิลิป เจฟเฟอร์สัน รองประธานเฟดกล่าวว่า เขาไม่สามารถบอกได้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% แม้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.จะออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ก็ตาม พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบระมัดระวัง
  • นายไมเคิล บาร์ รองประธานเฟด กล่าวว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่มีการเปิดเผยในไตรมาส 1 ปีนี้ ไม่ได้ทำให้เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเฟดควรจะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงิน พร้อมกับแนะนำให้เฟดใช้เวลามากขึ้นจนกกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
  • นางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์กว่า การที่เงินเฟ้อชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 1 ปีนี้ รวมทั้งเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ทำให้เธอคิดว่าเฟดควรจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น
  • ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 59% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้อย่างน้อย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งลดลงจากระดับ 65.7% ในการสำรวจวันก่อนหน้า
  • เงินเฟ้ออังกฤษสูงกว่าคาดในเดือนเม.ย. ดับความหวัง BoE ลดดอกเบี้ยเดือนมิ.ย. สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงสู่ระดับ 2.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี จากระดับ 3.2% ในเดือนมี.ค. โดยดัชนี CPI เดือนเม.ย. ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2564
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่ากรรมการเฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทอินวิเดีย (Nvidia) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) รายใหญ่ของสหรัฐ
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,671.04 จุด ลดลง 201.95 จุด หรือ -0.51%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,307.01 จุด ลดลง 14.40 จุด หรือ -0.27% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,801.54 จุด ลดลง 31.08 จุด หรือ -0.18%
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์ เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบและการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าของญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงสู่ระดับ 2.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี จากระดับ 3.2% ในเดือนมี.ค. โดยดัชนี CPI เดือนเม.ย.ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2564 อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และนักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าดัชนี CPI จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.1% ซึ่งทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่ว่า BoE จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 2,400 ดอลลาร์ในวันพุธ โดยตลาดถูกกดดันจากแรงขายทำกำไร และจากการที่นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -41.0 เหรียญ หรือ -1.69% อยู่ที่ระดับ 2,379.0 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 33 ดอลลาร์ หรือ 1.36% ปิดที่ 2,392.90 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 58.2 เซนต์ หรือ 1.81% ปิดที่ 31.496 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 11.20 ดอลลาร์ หรือ 1.06% ปิดที่ 1,049.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 838.54 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 6.35 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 40.57 ตัน
  • สำนักงานศุลกากรของจีน (GAC) เปิดเผยว่า จีนนำเข้าทองคำแท่งลดลงในเดือนเม.ย. เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวลงหลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยจีนนำเข้าทองคำ 136 ตันในเดือนเม.ย. ซึ่งลดลง 30% จากเดือนมี.ค. โดยยอดการนำเข้าทองคำในเดือนเม.ย.ถือเป็นระดับต่ำสุดในปีนี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่ากรรมการเฟดมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกว่าเฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานและส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.09 ดอลลาร์ หรือ 1.39% ปิดที่ 77.57 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 98 เซนต์ หรือ 1.18% ปิดที่ 81.90 ดอลลาร์/บาร์เรล
  •  ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล
  • ข้อมูลของ EIA ยังระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 900,000 บาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 700,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่นซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 400,000 บาร์เรล
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคา Bitcoin พุ่งกลับมายืนเหนือระดับ 22,000 ดอลลาร์อีกครั้ง หลังตัวเลข CPI ออกมาสูงเกินคาด

เมื่อคืนช่วงเวลา 20:30 ราคา Bitcoin ได้มีการพุ่งอย่างรุนแรง หลังจากที่ตัวเลข CPI นั้นได้มีการพุ่งสูงถึง 6.4% จากที่ตลาดได้เคยคาดการณ์ไว้ที่ 5.5% โดยในวันนี้ราคา Bitcoin ได้มีการพุ่งไปทำจุดสูงสุดในรอบวันที่ระดับ 22,251 ดอลลาร์

อ่านเพิ่มเติม

Santiment เผย 2 ความเป็นไปได้ของราคา Bitcoin ถ้าไม่แตะ 23,000 ดอลลาร์ก็วิ่งขึ้นไปที่ระดับ 30,000 ดอลลาร์

ราคา Bitcoin (BTC) ยังคงล้มเหลวที่จะสร้างสถานะกำไรให้นักลงทุนหลังจากแตะระดับสูงสุดที่ $28,184 ด้วยความที่มีข่าวประกาศถึงชัยชนะของ Grayscale ที่มีต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC)

อ่านเพิ่มเติม