logo

คำสอนจากกูรู เทรดเดอร์ บริหารหน้าตัก

“รู้หรือไม่ว่า เทรดเดอร์ที่มีเทรดได้กำไรถึง 60-70% ด้วยอัตรา Reward to risk 1:1 ก็สามารถหมดตัวได้ ถ้าไม่รู้จักบริหารหน้าตักให้เหมาะสม”

เทรดเดอร์ FOREX ที่เทรดเสียหรือเทรดขาดทุน นอกจากจะเกิดจากการใช้วิธีการเทรดที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถเกิดจากการขาดความเข้าใจในการบริหารหน้าตักของการเทรดแต่ละครั้งให้เหมาะสม ซึ่งต่างจากเทรดเดอร์มืออาชีพที่นอกจากจะมีระบบเทรดที่ดีแล้ว ยังมีการจัดการ Money Management ที่เหมาะสมกับการเทรดด้วย

การเทรดให้ประสบความสำเร็จและได้กำไรในระยะยาว ไม่ได้เกิดจากการทำกำไรก้อนโตเพียงก้อนเดียว แต่เกิดจากการเก็บกำไรก้อนเล็ก ๆ หลาย ๆ ก้อนรวมกันจนเกิดเป็นกำไรจำนวนมาก เทรดเดอร์หลายคนไปโฟกัสกับการเทรดเพียงครั้งเดียว โดยหาโอกาสการเสี่ยงที่มีโอกาสถูกมากที่สุด และทุ่มหน้าตักของตนเองไปกับการเทรดครั้งนั้น ๆ เมื่อผลลัพธ์การเทรดไม่เป็นไปอย่างที่คิดจึงเกิดการขาดทุนก้อนโตเกิดขึ้น

ยิ่งเราเกิดการขาดทุนหนัก หรือ Drawdown มากเท่าไหร่ การทำกำไรเพื่อทำให้กลับมาเท่าทุนยิ่งยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นยิ่งเรามั่นใจในการเทรดและการเดิมพันกับการเทรดนั้นไปมากเท่าไหร่ หากผลลัพธ์ไม่เป็นดังคาดหวัง จะทำให้เงินทุนของเรามีการเติบโตขึ้นในระยะยาวยากขึ้นเท่านั้น

 

-ถ้าเราเกิดการขาดทุน 🔻 10% เราจะต้องทำกำไรถึง 🟩 11% เพื่อกลับมาเท่าทุน

-ถ้าเราเกิดการขาดทุน 🔻 25% เราจะต้องทำกำไรถึง 🟩 33% เพื่อกลับมาเท่าทุน

-ถ้าเราเกิดการขาดทุน 🔻 50% เราจะต้องทำกำไรถึง 🟩 100% เพื่อกลับมาเท่าทุน

-ถ้าเราเกิดการขาดทุน 🔻 75% เราจะต้องทำกำไรถึง 🟩 400% เพื่อกลับมาเท่าทุน

-ถ้าเราเกิดการขาดทุน 🔻 90% เราจะต้องทำกำไรถึง 🟩 1000% เพื่อกลับมาเท่าทุน

 

กูรูเทรดเดอร์มักแนะนำให้ทำการบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดค่าการขาดทุนสูงสุดของระบบหรือ Maximum Drawdown ไว้ที่ไม่เกิน 25% เพราะจะเห็นได้ว่าเมื่อขาดทุนเกินค่านี้ โอกาสที่จะกลับมาเท่าทุนจะยากมาก

คำแนะนำกว้าง ๆ สำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพในการบริหารหน้าตักสำหรับเสี่ยงในแต่ละครั้ง คือ ไม่ควรเสี่ยงเกิน 2% ของเงินทุนต่อการเสี่ยงหนึ่งครั้ง (ถ้าในการเทรดมีหลายไม้ให้ถือเป็นการเทรดครั้งเดียว) ซึ่งเป็นค่าที่ปลอดภัยสำหรับการเทรดให้มีความอยู่รอดในระยะยาว

แต่เหตุผลที่ทำให้หลายคนเจ๊ง ถึงแม้การเทรดโดยภาพรวมจะกำไรมากกว่าขาดทุน ก็คือ ในครั้งที่เขามั่นใจมาก เขาจะทำการเสี่ยงเกินค่าปลอดภัย เช่น อาจจะเสี่ยงครั้งละ 10% ของเงินทุน เมื่อทำการเสียติดกัน 2-3 ครั้งก็จะทำให้เกิดการขาดทุนสูงถึง 20-30% จึงเป็นการยากที่จะเทรดให้กลับมาเท่าทุน โดยอาจจะต้องเทรดกำไรได้ถึง 4 ครั้ง ถึงจะสามารถทำให้การขาดทุน 3 ครั้งกลับคืนมาเท่าทุนได้

อย่างไรก็ตาม การที่เราเสี่ยงน้อยเกินไปจะทำให้เงินทุนของเรามีการเติบโตที่ช้า ดังนั้นเราจะต้องทำการหาค่าความเสี่ยงที่เหมาะสมกับวิธีการเทรดของเรา แต่ต้องไม่เกินค่าสูงสุดที่จะทำให้ระบบเรามีการขาดทุนสูงสุดเกิน 25% โดยมีอาจจะมีการเร่งการเติบโตโดยใช้ศิลป์ของการเก็งกำไร เช่น เดิมพันกับการเทรดที่มีโอกาสที่ดีเยอะหน่อย หรือ ลดเงินเดิมพันในการเสี่ยงที่มีโอกาสต่ำ เป็นต้น ซึ่งการจะปรับแต่งค่าตรงนี้ได้เราจะต้องรู้ค่าสถิติที่ชัดเจนของการเทรดของเราก่อน หรืออาจจะแบ่งเฉพาะนำส่วนกำไรไปเสี่ยงเพื่อสร้างโอกาสในการขยายผลตอบแทนก็ได้ แต่เงินทุนของคุณต้องพยายามรักษาไว้ให้ดีที่สุด

การขาดทุนหนัก ไม่ได้สร้างผลดีต่อการเติบโตกับการเติบโตของเงินทุนเลย จึงไม่มีกูรูหรือเทรดเดอร์มืออาชีพคนไหน แนะนำให้ทำการเสี่ยงเกินตัว หรือ Overtrading เพราะยิ่งเราขาดทุนหนัก การที่จะทำให้ทุนกลับมาเท่าเดิมก็ยิ่งต้องใช้ความพยายามมากขึ้นเท่านั้น การรักษาเงินทุนให้ดีจึงช่วยสร้างความสม่ำเสมอของการเติบโตของเงินทุนในระยะยาว


ข้อมูลบทความ

18K+ like โพสวันที่ 17 พฤษจิกายน 2563 ใน facebook

เข้าไปอ่านบทความในเพจได้ที่ เติมน้ำมัน 1 ลิตร เราจ่ายอะไรไปบ้าง

น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่าๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 23/08/2023

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด

อ่านเพิ่มเติม