logo

Export ข้อมูล Indicator จาก Tradingview

การ Export ข้อมูลกราฟเทรดหุ้นจาก Tradingview จะสามารถนำข้อมูลออกมาได้ทั้ง ราคา และ อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์กับใครหลายคนที่ต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อ โดยไม่ต้องคิดคำนวณหรือประมวลผลเอง เนื้อหาในบทความนี้จะแสดงขั้นตอนและผลลัพธ์ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ Tradingview

Trading View คืออะไร?

Tradingview เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการชาร์ตหุ้นของทั่วทั้งโลก และอัตราค่าเงินตราระหว่างประเทศ รวบรวมฐานข้อมูลราคาหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ครอบคลุมจากทั่วโลก 1

จุดเด่นของเว็บไซต์ดูราคาหุ้นเว็บนี้นอกจากมีสินค้าให้ดูหลากหลายแล้ว ยังมีบัญชีฟรีให้ทดลองใช้ เทรดเดอร์หลายคนชื่นชอบเนื่องจาก2

  1. การตีเส้นจากแถบเครื่องมือที่ง่าย: เครื่องมือพื้นฐานที่มีมา เช่น Trend line ต่าง ๆ , Horizontal Line(เส้นแนวนอน), Ventical line(เส้นแนวตั้ง) และอื่น ๆ อีกมากมายสามารถใช้งานได้ง่าย ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาสวยงามตรงกับความต้องการ
  2. Indicator ที่ครบถ้วน แถมยังเพิ่มเองได้อีก: มีเครื่องมือ หรือ Indicator พื้นฐานให้เลือกใช้อย่างครบครัน เช่น RSI, MACD, Stochastic, ADX, Parabolic SAR, เส้นค่าเฉลี่ย EMA/SMA/WHA, Volume, Bollinger Bands ซึ่งครอบคลุมการใช้งานของเทรดเดอร์สายเทคนิคแทบทุกประเภท รวมถึงมี Indicator เฉพาะสำหรับมืออาชีพอีกมากมาย เช่น TD sequential , Squeeze Momentum Indicator, WaveTrend Oscillator และ อืกมากมาย หรือถ้าไม่มี Indicator เหล่านี้ก็สามารถเขียน Script ขึ้นมาเองได้
  3. มีรูปแบบกราฟให้เลือกหลากหลาย: โดยมีให้เลือกถึงกว่า 12 รูปแบบ เช่น บาร์, แท่งเทียน, แท่งเทียนแบบกลวง, ไฮเกน ฮาชิ, เส้น, พื้นที่, เส้นฐาน, เรนโก, เส้นตัด, คากิ, พ้อยท์และฟิกเกอร์ และระยะ
  4. สามารถดูข้อมูลปัจจจัยพื้นฐานได้ในกราฟ: นอกจากดูกราฟเทคนิคแล้วยังสามารถนำข้อมูลปัจจัยพื้นฐานมาใส่ลงไปในกราฟได้ด้วย เช่น ยอดขาย, กำไร, P/E, PBV เป็นต้น
  5. ฟังชันก์อื่น ๆ : สามารถดูข่าว ภาพรวมตลาด ปฏิทินรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ห้องแชทคุยกับเทรดเดอร์ด้วยกัน การคัดกรองหุ้นทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเทคนิค เป็นต้น
  6. สามารถ Export ข้อมูลออกมาได้: อาจมีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทบัญชี

ขั้นตอนการ EXPORT ข้อมูล Tradingview

ข้อมูลกราฟ (ทั้งราคาและอินดิเคเตอร์) สามารถทำการส่งออกเป็นไฟล์ CSV ได้ โดยอาจจะนำไปเปิดในโปรแกรม Microsoft Excel หรือโปรแกรมอื่น ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์เชิง Data Science ได้

ขั้นตอนการส่งออกข้อมูลสามารถทำได้ดังนี้ผ่าน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ 3

เข้าไปที่แถบ 3 ขีดด้านซ้ายบน :

เข้าไปที่แถบเมนู ของ Tradingview

ส่วนนี้คือการเข้าไปที่เมนูของเว็บไซต์เทรดหุ้น มีเมนูให้เลือกมากมาย ตั้งการ Rename(เปลี่ยนชื่อ) Make a copy(สร้างสำเนา) และ Export chart data (การส่งออกข้อมูลกราฟ)

เลือกเมนู Export chart data…

เลือกเมนู Export chart data

ในที่นี้เราต้องการ export ข้อมูลจึงต้องทำการเลือกเมนู Export chart data

ทำการเลือกแผนภูมิที่ต้องการและลักษณะของ Time Format และกดส่งออก

ทำการเลือก format ข้อมูล

ขั้นตอนสุดท้ายคือทำการเลือก format ของข้อมูลที่ต้องการ Export โดยเราสามารถเลือกได้ 2 อย่างคือ

  • chart: เป็นส่วนของกราฟ โดยข้างซ้ายสุดก่อนเครื่องหมาย: จะเป็นที่มาของแหล่งข้อมูล(โบรกเกอร์) ซึ่งในที่นี้คือ OANDA ตรงกลางคือ สินค้าที่ต้องการ export ข้อมูล ในที่นี้คือ AUDUSD และด้านขวาสุดหลังสุด คือ Timeframe ในที่นี้คือ H4 เนื่องจาก 4 ชั่วโมงมี 240 นาที แต่ถ้ามีค่าเป็น 60 หมายถึงเป็น Timeframe H1 เนื่องจาก 1 ชั่วโมงมี 60 นาที
  • time format: สามารถเลือกรูปแบบของเวลาว่าจะเป็นแบบ UNIX หรือ รูปแบบ ISO

ลักษณะข้อมูลที่ได้จาก Tradingview

ข้อมูลที่ได้เรียงลำดับจากไฟล์ CSV จากซ้ายไปขวา จะประกอบไปด้วย time(เวลา), open(ราคาเปิด), ่high(ราคาสูงสุด), low(ราคาต่ำสุด, close(ราคาปิด) และแสดงค่าของอินดิเคเตอร์ที่ใส่ลงไปในกราฟ ในที่นี้ผมทำการเลือกใส่อินดิเคเตอร์ 2 ตัวลงไป คือ RSI และ ATR

Time format: UNIX timestamp

เป็นรูปแบบของเวลามาตรฐานซึ่งผมนิยมใช้มากที่สุด เพราะง่ายต่อการนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถแปลงกลับไปกลับมาเป็นวันที่ได้โดยใช้สูตรง่าย ๆ ในโปรแกรม EXCEL

ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ UNIX timestamp

Time format: ISO time

อีกรูปแบบของเวลาที่เราสามารถ Export ได้ก็คือ ISO time โดยทำการเลือก time format ก่อนทำการ Export ข้อมูล

เลือก Time format เป็น ISO time

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของวันที่และเวลาที่เป็นมาตฐานสากล แสดงข้อมูลในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ง่าย โดยในการ Export ข้อมูลแบบนี้จะได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับรูปแบบ UNIX แต่แตกต่างกันตรงที่ช่องคอลัมน์ time เท่านั้น

สรุป

การ Export ข้อมูลกราฟผ่านทาง Tradingview ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการนำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์ สำหรับผมแล้วข้อมูลที่ได้นั้นเพียงพอกับการวิเคราะห์พื้นฐานทั่วไป ที่สำคัญคือเราสามารถทำการใส่อินดิเคเตอร์ลงไปในกราฟได้เลย ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนที่จะต้องคำนวณค่าอินดิเคเตอร์เอง

แหล่งอ้างอิง

1.ecatrade

2. Lucid-trader

3. Tradingview

น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่างๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม