MACD หมายถึง
MACD อ่านว่า เอ็ม-เอ-ซี-ดี หรืออ่านว่า แมค-ดี (Mac-Dee) ถือเป็นอินดี้ที่เอาไว้ดูแนวโน้มของการแกว่งตัวของราคาว่าไปในทิศทางใด โดยเส้นแนวโน้มนั้นจะมีด้วยกัน 2 เส้น นอกจากนี้อินดี้ MACD ยังสามารถบอกแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลงได้อีกด้วยเมื่อพูดถึงเครื่องมือทาง Technical คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก indicator ยอดนิยมอย่าง MACD ซึ่งมีประโยชน์ ใช้ในการวัดความแข็งแรงและแนวโน้มของราคา บอกจังหวะการซื้อหรือขาย รวมถึงบอกสภาวะตลาดในช่วงนั้น ๆ ว่า แนวโน้มเป็นตลาดกระทิงขาขึ้น (Bull Market) หรือ ตลาดหมีขาลง (Bear Market) เหมาะสำหรับนักเก็งกำไรทุกแขนงทั้งระยะสั้น กลาง และ ยาว สามารถใช้เทรดบนตราสารทางการเงินแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรืออนุพันธ์ เนื่องจาก MACD สามารถประยุกต์ให้เข้ากับสไตล์การเทรดได้ง่าย
ประโยชน์ของ MACD ซึ่งจะมีอยู่ 3 ข้อ คือ
1.ใช้ MACD ดูความแรงของราคา
จากรูปตัวอย่าง จะเห็นจุดของราคา ซึ่ง MACD กำลังจะบอกว่า มีแรงขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้ามีค่ามากแสดงว่า MACD แสดงค่าเป็นบวก แต่ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่า MACD มีค่าบวกน้อยลงเนื่องจากอยู่ใน Trend ขาขึ้น
2.ใช้ MACD ในการดูสัญญาณการกลับตัวของราคา
ซึ่งเวลาตรวจจับสัญญาณกลับตัวจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1.ระยะสั้น
สัญญาณกลับตัวระยะสั้น : MACD แบบที่ 1 คือ MACD ตัด Signal Line โดยการตัดกันจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น 2 แบบ คือ MACD ตัดเหนือ Signal Line (Golden Cross) และ MACD ตัดลงต่ำกว่า Signal Line (Death Cross)
2.ระยะกลาง
สัญญาณกลับตัวระยะกลาง : MACD แบบที่ 2 คือ MACD ตัดเส้นศูนย์ หรือที่เรียกว่าเส้น Center Line คือ ราคาจะมีการกลับตัวในจังหวะที่ใหญ่กว่าและนานกว่าแบบที่ 1 (โอกาสที่จะเห็น MACD ตัดกับ Center Line ก็จะนานกว่า) ลักษณะของการตัดก็จะมี 2 แบบเช่นกัน คือ อยู่เหนือเส้น Center Line และอยู่ต่ำกว่าเส้น Center Line
3.ระยะยาว
สัญญาณกลับตัวระยะยาว : MACD แบบที่ 3 คือ MACD Divergence ซึ่งนานๆทีจะเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 สัญญาณแรก
-Bullish Divergence (กระทิงมาหรือยัง) จะใช้ดูสัญญาณเทรนราคาในช่วงขาลง
-Bearish Divergence (หมีมาหรือยัง) จะใช้ดูสัญญาณเทรนราคาในช่วงขาขึ้น
*เมื่อเห็น Divergence ไม่แนะนำให้เปิดออเดอร์ Sell หรือ Buy ถ้าราคาเป็นเทรนขาขึ้น แล้วเกิด Bearish Divergence ในกรณีที่มีออเดอร์อยู่ แนะนำให้ทยอยออกบางส่วนหรือปิดให้หมดถ้าราคาถึงหรือเกินจุด Take Profit ของเราแล้ว ส่วนกรณีที่ยังไม่มีออเดอร์ เวลาเกิด Bearish Divergence ให้รอราคาพักตัวก่อน แล้วค่อยเข้าออเดอร์อีกครั้ง
3.ใช้ MACD ดูสัญญาณซื้อ-ขาย
ว่าเราจะมีระบบ Trade Setup อย่างไรบ้าง
– เวลาเข้าออเดอร์ ให้เปิด Time Frame Day ขึ้นมาก่อน
– Zoom in เข้ามาใน Time Frame ที่เล็กลง โดยใช้ H1,H4 แล้วหา Golden Cross โดยดูว่า MACD ตัด Signal Line ไหม
และรอจังหวะ MACD ตัดขึ้นเหนือเส้นศูนย์ (Center Line) ส่วน Divergence ถ้ามีก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร
– ตัวที่จะมา Confirm จะมีอยู่ 3 อย่าง คือ High เดิม,เส้น EMA และแนวต้านสำคัญ
ต่อมาพอได้ออเดอร์เรียบร้อยแล้ว ก็มาดูหลักการตั้ง Take Profit ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ
– แบบที่ 1 รอ MACD ตัดลง Signal Line (ไม่แนะนำ เพราะเป็นการบอกสัญญาณระยะสั้น)
– แบบที่ 2 เราจะ Take Profit ในราคาปิดหลุด Low เดิม จากการยก Trailing Stop หมายความว่าเวลาที่ราคาไปในทิศทางที่เราต้องการ โดยปกติเราต้องเลื่อนจุด Stop Loss ขึ้นมาเรื่อยๆ
หลักการตั้ง Stop Loss มี 3 แนวทาง
1.ดู Low ก่อนหน้า
2.ถ้า Low ก่อนหน้าเป็นแนวรับ –ต้านสำคัญก็สามารถใช้ได้
3.Risk : Reward ในการ Set เช่น เราต้องการ Risk : Reward ในอัตราส่วน 1:10 หรือ 1:5 เราก็ไปดูว่าราคาจะไป Take Profit ที่ตำแหน่งไหนและมันสอดคล้องกับความเสี่ยงของเราหรือไม่
สรุป คือ..
MACD เอามาใช้ดู Momentum ของราคา เหมาะสาหรับใช้ในการ confirm trend ที่ชัดเจนและถือยาวๆ ช่วงตลาด sideway จะพบสัญญาณหลอกค่อนข้างเยอะ ดังนั้นสัญญาณในการเข้าซื้อตามเงื่อนไขนี้นานๆทีอาจจะเกิด แต่ก็มั่นใจได้ว่ามันจะปลอดภัยในระดับนึง ด้วยความที่เราเข้าออเดอร์ในหน้าเทรนที่มันมีแนวโน้วอยู่ เราไม่ได้เล่นสวนเทรด ในส่วนนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถทำกำไรในตลาดได้มากกว่า