logo

Money management การจัดการเงินทุน

Money Management คืออะไร

Money Management หากเขียนเป็นคำไทย น่าจะหมายถึงการบริหารจัดการเงินทุนของคุณ สำหรับการเทรด forex บางทีแล้วคุณอาจได้เห็นเป็นตัวอักษรย่อ เช่น MM ซึ่งก็คือความหมายเดียวกัน จริงๆแล้วเรื่องนี้พึ่งจะมีความสำคัญเมื่อไม่นานมานี้เอง อันสืบเนื่องมาจากนักเทรดทุกคนพบความจริงว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไปไม่นานกำไรที่เคยได้มาจากการเทรดมันหายไป  ซึ่งทำให้แนวคิดเรื่องของ Money Management เกิดขึ้น

Money management การจัดการเงินทุน

1.Risk per Trade การคำนวณ Lot ที่จะเปิดจากความเสี่ยงที่สามารถรับได้

2.Risk to Reward Ratio ความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ได้รับ

3.ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ คุณคือเทรดเดอร์คนหนึ่ง  ไม่ใช่ผู้วิเศษมาจากไหนการเทรดผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ  แต่จงจำไว้ว่า “คุณผิดพลาด ล้มเหลว เพื่อพัฒนา” ทุกครั้งที่คุณเทรดแพ้ คุณจะต้องลุกขึ้นมาใหม่ให้ได้  และที่สำคัญต้องหาข้อบกพร่องของความล้มเหลว ในรอบที่ผ่านมาให้เจอ เพื่อจะได้แก้ไข และก้าวข้ามผ่านมัน “ประสบการณ์จะเป็นคนสอนคุณเอง”

4.การคำนวณ Leverage,Margin,Lot size

Leverage มันก็คือตัวช่วยเพิ่มกำลังซื้อของเรา,ที่เราใช้กันบ่อยๆ ก็คือ บัตรเครดิต

ตัวอย่างการคำนวณ Margin

วิธีการคำนวณ 3 ขั้นตอน

ขั้นตอน 1 Money

ขั้นตอน 2 หา Profit ( Point)

ขั้นตอน 3 การแปลง Point ไม่เป็น Price

Balance,Credit,Equity แตกต่างกันอย่างไร

Balance คือ เงินในบัญชีของคุณ ที่ไม่นับรวม กำไร/ขาดทุน ของออเดอร์ที่ยังมีสถานะค้างอยู่

Credit คือ เงินที่โบรคเกอร์ให้เป็นโบนัสในการเทรด (ไม่สามารถถอนได้)

Equity คือ เงินในบัญชีของคุณ โดยที่เงินนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานะออเดอร์ ที่เปิดค้างอยู่แบบ Real Time

Pip/Point แตกต่างกันอย่างไร

Pip กับ Point คือหน่วยในตลาด Forex ใช้วัดปริมาณการเคลื่อนไหวของราคา

Pip คือ ปริมาณการเคลื่อนไหวของราคาหลัก สิบ

Point คือ ปริมาณการเคลื่อนไหวของราคาหลัก หน่วย

Spread,Bid/Ask คืออะไร

Spread คือ ส่วนต่างราคา ซึ่ง Broker ผู้เป็นตัวกลางจัดการคำสั่งซื้อระหว่างเรากับธนาคารโลก ก็จะได้รับส่วนต่างค่า Spread ซึ่งถ้ามองง่ายๆก็คือ ค่าการจัดการ คล้ายๆกับ Service Charge

Ask คือ ราคาที่โบรคเกอร์นั้นขายให้เรา

Bid คือ ราคาที่โบรคเกอร์รับซื้อจากเรา

การเปิดคำสั่งซื้อ Sell จะได้ราคาที่เส้น Bid และปิดราคาได้ที่เส้น Ask

การเปิดคำสั่งซื้อ Buy จะได้ราคาที่เส้น Ask และปิดราคาได้ที่เส้น Bid

Pending Order (การวางออเดอร์ล่วงหน้า)

Leverage (เลเวอเลจ) คือ เงินที่โบรคเกอร์ให้ยืมเพื่อทำการซื้อขาย แต่ต้องอยู่ในวงเงินหลักประกันที่เรามี 1: …(แล้วแต่โบรคเกอร์ แต่ละโบรคเกอร์ให้ เลเวอเรจสูงสุดไม่เท่ากัน 1 Lotstandard = 100,000$ สมมติว่ามีเงินทุน 1000$

Leverage 1:1 ออกล็อตได้แค่เพียง 0.01 1000$ * 1 Leverage/100,000$

Leverage 1:5 ออกล็อตได้แค่เพียง 0.01 1000$ * 5 Leverage/100,000$

Margin คือ เงินที่เราใช้เป็น “หลักประกัน”ในการเปิดออเดอร์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ Leverage โดยตรง

ยกตัวอย่าง เช่น ทุกครั้งที่เราเปิดสถานะ ซื้อหรือขาย เราก็จะใช้เงินของเราไปวางประกันไว้จำนวนหนึ่ง

ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Leverage เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ

ข้อดี ทำให้เราสามารถใช้เงินต็มจำนวน เช่น Leverage 1:2000 จะเหมือนกับว่าเราวางมัดจำแค่ 0.05% ของเงินเต็มจำนวน

Swap คือ Overnight interest หรือ ค่าส่วนต่างที่โบรคเกอร์คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินที่เราได้เปิดออเดอร์ทิ้งไว้ ข้ามคืน ซึ่งผลจากการคำนวณ มีทั้งเป็นบวกเป็นลบ ซึ่งการถือออเดอร์ Buy และ Sell Swap จะไม่เท่ากัน เราสามารถเช็ค SWAP ของโบรคเกอร์ในแต่ละคู่เงินได้ใน MT4Platform

ข้อควรระวัง

ในคืนวันศุกร์จะมีการยกเอาค่า Swap ของวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ (+วันนักขัตฤกษ์) มาคิดร่วมกันล่วงหน้าไว้ในคืนวันพุธทำให้วันศุกร์มีค่าเป็น Swap คือ 1 Lot swap เยอะที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการถือออเดอร์ทิ้งไว้

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาที่ดินเสมือนบน Metaverse ร่วงดิ่งกว่า 90% จาก All time high ในปี 2022

ในช่วงปี 2022 อสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดในขณะนั้นคือ Otherdeeds ของ Otherside ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีราคาถึง 5 ETH แต่ในปัจจุบันกลับมีราคาขายอยู่ที่ 1.09 ETH เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม